Page 88 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 88
รายงานการศึกษาวิจัย 61
การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี
ภายใตโครงสรางดังกลาว คณะอนุกรรมการระดับประเทศดานการสงเสริมและคุมครองสิทธิดานเอดส
เปนกลไกหลักที่ทําหนาที่เกี่ยวของกับปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อ นอกจาก
อนุกรรมการชุดนี้แลว ในยุทธศาสตรปองกันและแกไขปญหาเอดสแหงชาติ พ.ศ. 2555 - 2559 ยังมีหนวยงานอื่น ๆ
ที่มีภารกิจเกี่ยวของ ที่สําคัญ ไดแก กระทรวงแรงงาน โดยเฉพาะกรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน
148
มีภารกิจในการสงเสริมสนับสนุนดานอาชีพใหแกผูติดเชื้อ ผูปวยเอดส และผูไดรับผลกระทบ ใหสามารถมีรายได
พึ่งพาตนเองไดตามสมควร สํานักงานอัยการสูงสุด มีภารกิจในการเผยแพรความรูและความเขาใจเรื่องสิทธิมนุษยชน
เกี่ยวกับการคุมครองสิทธิ ตลอดจนหนาที่ของบุคคลเกี่ยวกับเอดสตามกฎหมายแกประชาชนกลุมตาง ๆ สภาทนายความ
มีหนาที่ในการดําเนินการและสนับสนุนใหสภาทนายความจังหวัดเผยแพรความรูเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ดานเอดส
แกประชาชน ตลอดจนดําเนินการและสนับสนุนใหสภาทนายความจังหวัดจัดและพัฒนาระบบการรับเรื่องรองเรียน
และใหความชวยเหลือทางกฎหมายใหสามารถใหบริการและชวยเหลือคุมครองสิทธิในประเด็นสิทธิดานเอดส
มากขึ้น และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติมีหนาที่ในการพัฒนาระบบและดําเนินการรับเรื่องรองเรียนและ
ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนใหมีความสามารถในการใหบริการเกี่ยวกับสิทธิดานเอดสไดอยางมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น เสนอความเห็นตอรัฐบาลเพื่อใหมีมาตรการในการคุมครองสิทธิมนุษยชนดานเอดสมากขึ้น
และใหขอเสนอแนะแกรัฐบาลและหนวยงานตาง ๆ ในการแกไขปญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนดานเอดส เผยแพร
ความรูความเขาใจเรื่องสิทธิมนุษยชนดานเอดสใหกับเครือขายตาง ๆ ภายใตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
รวมทั้งจัดทําและสนับสนุนใหภาคประชาสังคมจัดทํารายงานสถานการณสิทธิมนุษยชนดานเอดสประจําป
สําหรับการดําเนินงานเพื่อลดการเลือกปฏิบัติและการตีตราตอผูติดเชื้อเอชไอวีของ คช.ปอ. และ ศบ.จอ.
ไดมีการกําหนด แนวปฏิบัติแหงชาติวาดวยการปองกันและบริหารจัดการดานเอดสในสถานที่ทํางาน เพื่อให
สถานที่ทํางานถือเปนหลักปฏิบัติ ตั้งแตวันที่ 21 สิงหาคม 2552 นอกจากสาระสําคัญเรื่องแนวทางการปองกัน
การแพรระบาดของโรคเอดส/เชื้อเอชไอวีในสถานที่ทํางานแลว แนวปฏิบัติแหงชาติฉบับนี้ยังใหความสําคัญกับ
“(1) การคุมครองสิทธิมนุษยชน ไดแก การปกปองคุมครอง และสงเสริมการปฏิบัติตอคนทํางานและ
คนสมัครงานอยางเทาเทียมกัน และขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไมเปนธรรมตอผูติดเชื้อและผูไดรับผลกระทบ ดังนี้
การจางงานและการสมัครงานตองไมมีการตรวจหาเชื้อเอชไอวีหรือการแสดงหลักฐานวาไมติดเชื้อเอชไอวี
เพื่อคัดกรองคนทํางานและคนสมัครงาน หรือเพื่อเปนเงื่อนไขในการจางงาน หรือเปนหลักเกณฑวาคนทํางานและ
คนสมัครงานขาดคุณสมบัติในการจางงาน...” 149
อยางไรก็ดี แมวาแนวปฏิบัติจะออกมาในป พ.ศ. 2552 แตดูเหมือนจะไมไดรับการยอมรับในหมูนายจาง
มากนัก ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยในหนวยงานรัฐบางหนวยงาน ก็ยังมีการบังคับใหมีการตรวจเลือดเพื่อหา
เชื้อเอชไอวี และใชเปนเงื่อนไขในการคัดกรองคุณสมบัติ เชนเดียวกับหนวยงานภาครัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน
จํานวนไมนอยที่ยังคงมีหลักเกณฑเชนนี้อยู (รายละเอียดในบทที่ 3)
150
148 ศป.จอ., ภารกิจการดําเนินงานปองกันและแกไขปญหาเอดสของหนวยงานและองคกรตางๆ [ออนไลน] retrieved from http://www.thailandaids.org/main/
index.php/2012-06-21-06-54-48/2012-07-06-08-56-04
149 ประกาศคณะกรรมการแหงชาติ วาดวยการปองกันและแกไขปญหาเอดส เรื่อง แนวปฏิบัติแหงชาติ วาดวยการปองกันและบริหารจัดการดานเอดสในสถานที่
ทํางาน ขอ 7 [ออนไลน] retrieved from http://www.thailandaids.org/main/index.php/2012-06-21-06-54-48/2012-07-06-06-59-
44?limitstart=0
150 มีการประเมินขั้นตนวา ในป 2554 “หนวยงานที่มีการบังคับใหมีการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในภาครัฐมี ราวรอยละ 1-2ขณะที่เอกชนมีประมาณรอยละ 5-10
อยางไรก็ดี ตัวเลขที่ชัดเจนยังคงเปนปญหาอยู เนื่องจากคนกลุมนี้ เมื่อถูกละเมิดจะไมกลาออกมาดําเนินคดี ทําใหไมมีตัวเลขแนชัด” (คํากลาวของ
รองอธิบดีกรมควบคุมโรคในการการสัมมนา เรื่อง “การตรวจการติดเชื้อเอชไอวีโดยไมสมัครใจ : ผลกระทบและแนวทางแกไข” 4 ต.ค.2556 ที่กรมควบคุมโรค
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000126387)