Page 83 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 83

56  รายงานการศึกษาวิจัย
              การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี



                            มาตรฐานการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Manufacturing Practices : GMP)
              เรียกยอวา GMP คือ ระบบประกันคุณภาพที่มีการปฏิบัติในการผลิตอาหาร เพื่อใหเกิดความปลอดภัยและมั่นใจ

              ตอการบริโภค หลักการของ GMP ครอบคลุมตั้งแตสถานที่ตั้งของสถานประกอบการ โครงสรางอาคาร ระบบ
              ปฏิบัติที่ดี มีความปลอดภัยและมีคุณภาพ ไดมาตรฐานทุกขั้นตอน ตั้งแตเริ่มตนวางแผนการผลิต ระบบควบคุม

              วัตถุดิบ ระหวางการผลิตผลิตภัณฑสําเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพและการขนสงถึงผูบริโภค รวมถึง
                                                                      137
              ระบบการจัดการที่ดีในเรื่องสุขอนามัย (Sanitation และ Hygiene)  เมื่อสถานประกอบการอยูภายใตมาตรฐาน
              GMP จึงไมจําเปนตองมีการเลือกปฏิบัติหรือการบังคับตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีในตัวผูสมัครงาน
                            หลักการปองกันสองชั้น (Double Prevention) ในธุรกิจสถานพยาบาล  เปนมาตรการสําคัญ
                                                                                        138
              เพื่อการควบคุมการแพรระบาดของโรคอยูแลว จึงไมจําเปนตองตรวจเลือดกอนเขาทํางาน
                            นอกจากนี้ ผูเขารวมสนทนากลุมลูกจางในสถานประกอบการ ในธุรกิจโรงแรม อาหาร/บริการ

              ยังใหขอสังเกตไวอยางนาสนใจวา ถึงที่สุดแลว การแพรระบาดของเชื้อเอชไอวีในธุรกิจประเภทนี้ ยังไมนากลัวเทา
              เชื้อไวรัสตับอักเสบอีกดวย 139



              3.3 บทวิเคราะหเรื่องการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี

                            นับตั้งแตการตรวจพบผูติดเชื้อเอดสรายแรกในประเทศไทยในป พ.ศ. 2527 แนวทางการทํางาน

              แกไขปญหาเอดสของประเทศไทยที่ผานมา เนนการทํางานเชิงรณรงคและปองกันการแพรระบาดเปนหลัก
              โดยเฉพาะนโยบายการลดอัตราการรับ-ถายทอดเชื้อเอชไอวีรายใหมลงครึ่งหนึ่งภายในป พ.ศ. 2554 (Half by

              2011) ภายใตแผนยุทธศาสตรบูรณาการเพื่อการปองกันและแกไขปญหาเอดสระดับชาติ (พ.ศ. 2550 - 2554)
              ซึ่งถูกวิจารณจากองคกรพัฒนาเอกชนวาเปนการทํางานอยูบนฐานความรูดานวิทยาศาสตรการแพทย โดยใชขอมูล

              ความรูดานระบาดวิทยาเปนองคความรูในการพัฒนาและกํากับนโยบายเพียงมิติเดียว และแมวาการดําเนินการ
              ตามนโยบายอยางแข็งขันอาจจะชวยลดอัตราการรับ-ถายทอดเชื้อเอชไอวีรายใหมได แตก็อาจทําไดเพียงระยะสั้น

              ไมสามารถปองกันและแกปญหาไดในระยะยาว เนื่องจากขาดการใชองคความรูที่จะทําใหเขาใจปญหาเชิงสังคม
              วัฒนธรรมในกลุมเสี่ยง  และที่สําคัญนโยบายเชนนี้  ยังสงผลกระทบใหเกิดการตีตราและการเลือกปฏิบัติในกลุม

              ประชากรที่ถูกระบุวาเปนกลุมที่มีความเสี่ยงสูงสุด (Most At Risk Populations - MARPs) ดวย ดังนั้น ในการ
              แกไขปญหาเอดส จําเปนตองมีการใชองคความรูดานอื่น ๆ โดยเฉพาะองคความรูดานสังคมวัฒนธรรมและมุมมอง

              ดานสิทธิเพิ่มเติม 140
                            อยางไรก็ดี นาสนใจวาในยุทธศาสตรปองกันและแกไขปญหาเอดสแหงชาติ พ.ศ. 2555 – 2559

              ไดเพิ่มมุมมองเรื่องสิทธิไวอยางนาสนใจ โดยเฉพาะมีการกําหนดวิสัยทัศน เรื่อง “การไมมีการตีตราและ
              การเลือกปฏิบัติ” โดยเปาหมายในป พ.ศ. 2559 กําหนดให

                            (1)  มีการแกไขกฎหมายและนโยบายที่เปนอุปสรรคตอการเขาถึงบริการปองกัน รักษา ดูแล และ
              บริการรัฐสาธารณะ


              137  ศูนยเครือขายขอมูลอาหารครบวงจร, Good Manufacturing Practice/GMP [ออนไลน] http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0352/
               good-manufacturing-practice-gmp
              138  เจาหนาที่จากโรงพยาบาลแหงหนึ่งที่ไดรับมาตรฐาน ASO Thailand, การสนทนากลุมผูประกอบการ, 14 มีนาคม 2556
              139  การสนทนากลุมลูกจางในสถานประกอบการ 8 มีนาคม 2556
              140  คณะกรรมการเครือขายองคกรพัฒนาเอกชนดานเอดส, รายงานการวิเคราะหนโยบายการตอบสนองตอปญหาเอดสของประเทศไทยในมุมมองของ
                ภาคประชาสังคม ป พ.ศ. 2552, (เชียงใหม: ดาราวรรณการพิมพ, 2553), หนา 26-29.
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88