Page 96 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 96
94 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
๔.๖ พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓
๔.๗ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง บุคคลที่ไม่ต้องร่วมจ่ายค่าบริการ พ.ศ. ๒๕๕๕
๕. ความเห็นของคณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอ
ในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
เมื่อพิจารณาเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ พันธกรณี
ระหว่างประเทศกฎหมายที่เกี่ยวข้องและตัวอย่างที่ดีของการจัดบริการและระบบบริการสาธารณสุข
ในประเทศต่างๆ แล้ว เห็นว่าการจัดบริการและระบบบริการสาธารณสุขของประเทศไทยอยู่ในระดับ
มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ระบบบริการสาธารณสุขที่ต่างกันยังมีความเหลื่อมล้ำากันในแง่คุณภาพ
และมาตรฐานของบริการ การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตลอดจนยังมีคนบางกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึง
บริการดังกล่าว เพื่อยกระดับการจัดบริการและระบบบริการสาธารณสุขของประเทศไทยให้บรรลุ
ตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมายข้างต้น คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการ
ปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว
มีความเห็น ดังนี้
๕.๑ ควรพิจารณาการจัดบริการสาธารณสุขทั้ง ๓ ระบบและระบบอื่นที่คล้ายกัน
ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ข้อ ๑๒ และ
บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๕๑ ว่าด้วยสิทธิในการ
ได้รับบริการสาธารณสุข และมาตรา ๘๐ (๒) ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในการพัฒนาระบบ
สุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุข รวมถึงการคุ้มครองผู้มีหน้าที่ให้บริการ
๕.๒ ควรพิจารณาบนหลักความเสมอภาค
หมายถึง คนทุกคนควรได้รับบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและที่จำาเป็นตามระบบหลัก
ประกันสุขภาพแห่งชาติอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ส่วนผู้รับบริการในระบบกองทุนหรือระบบ
สาธารณสุขอื่นต้องได้รับไม่ต่ำากว่าหรือด้อยกว่าระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งหากปรากฏสิทธิ
อันด้อยกว่า เช่น กรณีคำาร้องที่ ๑๕๘/๒๕๕๔ ซึ่งระบุว่าผู้ประกันตนได้รับบริการสาธารณสุขน้อยกว่า
ระบบบริการสาธารณสุขอื่น สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะต้องเป็นหน่วยงานในการบริการ
จัดการเพิ่มเติมสิทธินั้นด้วยระบบกองทุนหรือระบบสาธารณสุขอื่นที่ผู้รับบริการสาธารณสุขได้เป็น
ผู้ส่งเงินเข้ากองทุนดังเช่นระบบประกันสังคม ก็จะต้องพยายามให้ผู้รับบริการสาธารณสุขได้รับการ
บริการที่คุ้มค่าอย่างเหมาะสมตามที่ได้จ่ายเงินเข้ากองทุน ซึ่งอาจจะได้รับบริการสาธารณสุขที่มากกว่า
ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติก็ย่อมได้