Page 92 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 92

90  ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                  ประชาชน อำานวยความสะดวกให้ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลใด

                  ก็ได้ในจังหวัดฯ  ปรับปรุงระบบการส่งต่อผู้ป่วยโดยทำาผ่านโรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) ตลอดจนพัฒนา
                  โรงพยาบาลที่เป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาลในจังหวัดฯ นอกจากนี้ สำานักงานสาธารณสุขจังหวัด

                  กาญจนบุรีได้มอบหมายให้กลุ่มงานประกันสุขภาพดูแลบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ และให้
                  กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพรับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

                                                                                             ๕๖
                             ๒)  ระบบการดูแลสุขภาพ (Health Care) ของประเทศในสหภาพยุโรป  ได้จัด
                  บริการโดยพิจารณาบนฐานความจำาเป็นและความต้องการด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มต่างๆ
                  แบ่งตาม อายุ เพศ ฐานะทางเศรษฐกิจ การเป็นโรค ฯลฯ  แหล่งรายได้ในการจัดบริการสุขภาพใช้

                  ระบบกองทุน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากรัฐ เช่น ภาษี หรือเงินสนับสนุนที่ให้แก่กองทุน ส่วนน้อยมาจาก
                  การเก็บค่าบริการจากผู้รับบริการ  การจัดสรรเงินในการดูแลสุขภาพแบ่งเป็น ๓ รูปแบบ คือ ๑) รัฐ

                  สนับสนุนโดยใช้เงินภาษี (Beveridge Model)  ๒) รัฐสนับสนุนตามระบบประกันสังคมแบบบังคับ
                  (Compulsory Social Insurance) หรือ Bismarck Model และ ๓) ผู้รับบริการจ่ายตามระบบประกัน

                  แบบสมัครใจ (Voluntary Insurance) ซึ่งจะได้รับบริการเสริมจากระบบประกันสังคมแบบบังคับ

                             ๓)  การกำาหนดส่วนร่วมจ่ายค่ายาในระบบประกันสุขภาพของประเทศใน
                                                ๕๗
                  ภูมิภาคเอเชีย อเมริกาเหนือ ยุโรป   ทำาโดยมีเพดานไม่ให้ผู้ป่วยต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป
                  และมีการประกันให้คนทุกคน รวมถึงผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เข้าถึงบริการสุขภาพและ

                  สาธารณสุขได้ โดยใช้วิธีการร่วมจ่ายต่างๆ เช่น ให้จ่ายส่วนแรก (Deductibles)  กำาหนดเป็น
                  ร้อยละร่วมจ่าย (Coinsurance)  ใช้อัตราคงที่ต่อครั้ง/ต่อใบสั่งยา กำาหนดเพดานการร่วมจ่าย รวมทั้ง

                  การกำาหนดกลุ่มยกเว้นไม่ต้องร่วมจ่าย หรือกลุ่มที่ให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มี
                  รายได้น้อย ผู้เป็นโรคร้ายแรงบางโรค  ทั้งนี้ โดยคำานึงถึงระดับรายได้และความสามารถในการดูแล

                  ตนเองของผู้นั้น















                  ๕๖  1998, Europe Parliament, Working paper on Health Care Systems in the EU : A Comparative study,
                       Public Health and Consumer Protection Series, SACO 101 En.
                  ๕๗  ศูนย์สารสนเทศและวิจัยระบบยา, รายงานการศึกษาส่วนร่วมจ่ายค่ายาในระบบประกันสุขภาพของ ๑๐ ประเทศ
                       เสนอต่อสำานักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย, บทที่ ๒ หน้า ๒-๑๗, มปป. มปท. ประเทศ ๑๐
                       ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร เยอรมนี
                       ฟินแลนด์
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97