Page 91 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 91
89
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ มารวมกับฉบับประชาชน แล้ว
เปลี่ยนชื่อเป็น ร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
กำาหนดให้มีกองทุนฯ ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งมาจากเงินสมทบของโรงพยาบาล มีคณะกรรมการพิจารณา
การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยให้แก่ผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข
ยกเว้น ความเสียหายจากการประกอบวิชาชีพตามมาตรฐาน ความเสียหายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความ
เสียหายที่ไม่กระทบการดำารงชีวิตตามปกติ และให้มีการไกล่เกลี่ยระหว่างผู้เสียหาย ผู้ให้บริการ และ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม มีความเห็นแย้งว่า เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่เป็นการ
พัฒนาระบบการแพทย์และสาธารณสุข
๒.๒) สำ�นักง�นหลักประกันสุขภ�พแห่งช�ติ (สปสช.) ให้ข้อมูลความก้าวหน้าใน
การหารือเกี่ยวกับการตัดโอนเงินบางส่วน เช่น ร้อยละ ๐.๘๘ จากกองทุนประกันสังคมในส่วนประโยชน์
ทดแทนเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ไปยังกองทุนหลักประกันสุขภาพ ว่ายังไม่มีข้อสรุปชัดเจน
๒.๓) สำ�นักง�นประกันสังคม แจ้งว่า สำานักงานฯ ได้สนับสนุนร่างพระราชบัญญัติ
ประกันสังคม (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. .... (ฉบับคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาใน
รัฐสภา โดยร่างกฎหมายดังกล่าวได้แก้ไขมาตราต่างๆ ให้ขยายการคุ้มครองด้านรักษาพยาบาล
และบริการสาธารณสุขแก่ผู้ประกันตนมากขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำาในการให้บริการฯ ตลอดจน
พัฒนามาตรฐานของบริการสาธารณสุขให้เทียบเท่ากับระบบบริการสาธารณสุขอื่น กล่าวคือ
ขยายบริการให้ครอบคลุมการตรวจสุขภาพ ผู้ประกันตนที่จงใจหรือยินยอมก่อให้เกิดอันตราย
หรือเจ็บป่วย ผู้ประกันตนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และคลอดบุตร
ซึ่งจ่ายเงินสมทบไม่ครบระยะเวลาที่กำาหนด แรงงานนอกระบบ/แรงงานข้ามชาติที่ทำางานบ้านและ
รับงานไปทำาที่บ้าน การได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น เมื่อได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล
๒.๔) กรมบัญชีกล�ง ให้ความเห็นว่า การเข้าถึงบริการและการรักษาประโยชน์
ด้านรักษาพยาบาลของผู้อยู่ในข่ายรับบริการมากกว่า ๑ ระบบ ตามหลักให้ใช้สิทธิหลักของผู้นั้นก่อน
หากมีค่ารักษาเกินกว่าสิทธิหลัก จึงใช้สิทธิในฐานะผู้อาศัยสิทธิเพิ่มเติม ปัญหาที่พบ คือ มักไม่ค่อยใช้
สิทธิหลักก่อน นอกจากนี้ การเพิ่ม/ขยายสิทธิรับบริการสาธารณสุขจากระบบหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติให้แก่ระบบบริการฯ อื่น ไม่อาจทำาได้ทันที ต้องกำาหนดโดยพระราชกฤษฎีกา หรือข้อตกลง
กับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
๓.๓ ตัวอย่างที่ดีของการจัดบริการและระบบบริการสาธารณสุขภายในประเทศและระบบ
ของต่างประเทศ
๑) โรงพยาบาลในจังหวัดชายแดนบางแห่งเป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดบริการ
สาธารณสุขให้แก่ผู้มีสัญชาติไทยและผู้ด้อยโอกาส รวมถึง บุคคลไร้รัฐที่อาศัยในพื้นที่ กล่าวคือ
โรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก เน้นการให้บริการสาธารณสุขแก่ทุกคนไม่ว่ามีสัญชาติไทยหรือไม่
อย่างทั่วถึงและมีมนุษยธรรม โรงพยาบาลในจังหวัดกาญจนบุรี ให้บริการโดยคำานึงถึงประโยชน์ของ