Page 89 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 89
87
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
๑) ผู้ประกันตนตามระบบประกันสังคม ซึ่งจงใจหรือยินยอมก่อให้เกิด
๕๔
อันตราย หรือเจ็บป่วย รวมถึงผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบไม่ครบระยะเวลาตามที่กฎหมายกำาหนด
เช่น กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ต้องจ่ายแล้วไม่น้อยกว่า ๓ เดือน และกรณีคลอดบุตร
ต้องจ่ายแล้วไม่น้อยกว่า ๗ เดือน ๕๕
(๒) ผู้อยู่ในข่ายรับบริการมากกว่า ๑ ระบบ ซึ่งโดยหลักให้ใช้สิทธิหลักของ
ตนก่อน แล้วจึงใช้สิทธิในฐานะผู้อาศัยสิทธิเพิ่มเติมในส่วนที่เบิกจ่ายไม่ได้ ทางปฏิบัติพบว่า ทั้งผู้ป่วย
และโรงพยาบาลไม่ทราบข้อมูลดังกล่าว ทำาให้ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนนี้เอง หรือออกจาก
การรักษาพยาบาลกลางคัน เช่นเดียวกัน ผู้ประกันตนตามระบบประกันสังคมในฐานะผู้มีส่วนได้
ส่วนเสีย พึงได้รับข้อมูลข่าวสารการบริหารงาน ฐานะการเงิน หรืออื่นใดของกองทุนประกันสังคม
ทางปฏิบัติพบว่า ผู้ประกันตน รวมถึงผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานข้ามชาติกลับเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสาร
ดังกล่าว
(๓) กลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ได้แก่ ผู้ไม่มีสัญชาติไทยและไม่ได้รับ
ผ่อนผันภายใต้มติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขแก่บุคคลที่
มีปัญหาสถานะและสิทธิแรงงานนอกระบบ/แรงงานข้ามชาติที่ไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ (งานภาค
เกษตรกรรม ภาคประมง และงานบ้าน) และเด็กเร่ร่อนหรือผู้ไร้ที่พักพิงซึ่งมักรักษาตัวเอง เนื่องจาก
ช่องว่างทางกฎหมาย อุปสรรคด้านภาษา ไม่มีหรือเข้าไม่ถึงเครื่องมือสื่อสาร อคติของผู้ให้บริการ
และบรรยากาศไม่เป็นมิตรของสถานพยาบาล เป็นต้น
๔) โครงสร้างสังคมและความต้องการรับบริการสาธารณสุขของสังคมไทย
เปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และการก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ซึ่งจะมีจำานวนประชากรโยกย้ายถิ่นฐานเพิ่มมากขึ้น จึงควรปรับปรุงการจัดบริการสาธารณสุขและ
ระบบบริการฯ ให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการดังกล่าว
๓.๒ ความเห็นจากการสัมมนากลุ่มย่อยและการรับฟังความเห็นผู้แทนหน่วยงานรัฐ
ที่เกี่ยวข้อง
คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และ
กฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ได้พิจารณาปัญหาดังกล่าว รวมทั้งได้จัดการรับฟังและ
แลกเปลี่ยนความเห็น จำานวน ๒ ครั้ง ประกอบด้วย การจัดสัมมนากลุ่มย่อย และการรับฟังความเห็น
จากผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ ดังนี้
๕๔ พระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา ๖๑
๕๕ พระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา ๖๒, ๖๕ และ ๖๙