Page 88 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 88

86   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                  เลือกหน่วยบริการประจำาหรือโรงพยาบาลคู่สัญญา  แม้กระนั้นยังพบว่า หลายคนเข้าไม่ถึงบริการ

                  ในโรงพยาบาลรัฐ ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนโดยเสียค่าใช้จ่ายเอง นอกจากนี้ พบว่า
                  กรมบัญชีกลางเป็นเพียงหน่วยเบิกจ่าย และคณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการข้าราชการมีหน้าที่

                  กำาหนดมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยาเป็นหลัก แต่ไม่มีอำานาจบริหารจัดการ กำากับจำานวน
                  การเบิกจ่าย รวมถึงควบคุมมาตรฐานบริการฯ ทำาให้มีการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่ายากรณี

                  ผู้ป่วยนอกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ขณะที่ไม่อาจควบคุมหรือต่อรองเกี่ยวกับประเภทหรือมาตรฐาน
                  การบริการ  ส่วนการดูแลความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมการทำางานยังไม่ได้รับการดูแล

                             ๓)  การจัดบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ : การเข้าถึงบริการฯ

                  ทางกายภาพ เศรษฐกิจ และข้อมูลข่าวสาร มีประเด็น ดังนี้
                                                                                                   ้
                                  ๓.๑)  มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๓ มีน�คม ๒๕๕๕ เรื่อง ก�รลดคว�มเหลื่อมลำ�
                  ระหว่�ง ๓ กองทุนประกันสุขภ�พภ�ครัฐ  กำาหนดว่า ให้ผู้เจ็บป่วยกรณีฉุกเฉินหรือประสบอุบัติเหตุ
                  ไม่ว่าเป็นผู้มีสิทธิตามระบบบริการใด สามารถรับการรักษาในโรงพยาบาลได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้อง

                  ตรวจสอบสิทธิก่อนและไม่มีค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ทำาให้ผู้เจ็บป่วยกรณีนี้เข้าถึงบริการสาธารณสุขได้โดย
                  ไม่จำากัดว่าอยู่ภายใต้ระบบบริการฯ ใด

                                  ๓.๒)  ผู้มีสิทธิรับบริก�รของแต่ละระบบบริก�รฯ จะแตกต่�งกันไปต�มวัตถุประสงค์
                  ของระบบบริก�รนั้น  กล่าวคือ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้แก่ บุคคลทุกคนที่อาศัยใน

                  ประเทศไทย ลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน และผู้ประสบภัยจากรถตามกฎหมายว่าด้วย
                                             ๕๑
                  การคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  รวมถึงผู้ไร้สัญชาติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม
                  ๒๕๕๓ เรื่อง การให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขแก่บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ
                  ระบบประกันสังคม  ระบบประกันสังคม ได้แก่ ลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตน ผู้มิใช่ลูกจ้างและแสดงความ
                                    ๕๒
                  จำานงเป็นผู้ประกันตน  และลูกจ้างที่เป็นแรงงานข้ามชาติที่พิสูจน์สัญชาติแล้ว (ภาคอุตสาหกรรม
                  และภาคการก่อสร้าง) ระบบสวัสดิการข้าราชการ ได้แก่ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำาที่ได้รับเงินเดือน

                  หรือค่าจ้างจากงบประมาณ ลูกจ้างชาวต่างประเทศที่ได้รับค่าจ้างจากงบประมาณ ผู้ได้รับบำานาญปกติ
                  และบำานาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บุคคลในครอบครัว ๕๓

                                  ๓.๓)  แม้กฎหม�ยว่�ด้วยระบบบริก�รส�ธ�รณสุข ๓ ระบบ ไม่เป็นก�รเลือกปฏิบัติ
                  ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งร�ชอ�ณ�จักรไทย พุทธศักร�ช ๒๕๕๐ และมีผู้มีสิทธิรับบริก�รของแต่ละระบบ

                  บริก�รฯ แตกต่�งกัน ก็ยังพบว่�มีผู้เข้�ไม่ถึงบริก�รส�ธ�รณสุขท�งก�ยภ�พ เนื่องจ�กเหตุผลท�งเศรษฐกิจ
                  และเข้�ไม่ถึงข้อมูลข่�วส�ร ดังนี้




                  ๕๑  พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ มาตรา ๕,

                  ๕๒  พระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา ๓๓, ๓๘, ๓๙ และ ๔๐
                  ๕๓  พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลฯ มาตรา ๕, ๑๑ และ ๑๒
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93