Page 90 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 90

88   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                             ๑)  ความเห็นจากการสัมมนากลุ่มย่อย

                                  ในการจัดสัมมนากลุ่มย่อย เรื่อง ระบบบริการสาธารณสุข : มาตรฐานการ
                  รักษาพยาบาล และการเข้ารับการรักษาพยาบาล เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๕ ผู้เข้าร่วมสัมมนา

                  ประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการที่เป็นหน่วยกำาหนดนโยบายและหน่วยให้บริการในพื้นที่
                  ผู้แทนจากโรงพยาบาลในจังหวัดชายแดน ผู้แทนจากภาคประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชนใน

                  ฐานะผู้รับบริการ ผลการสัมมนาพบว่า มีประเด็นปัญหาและสาเหตุของการเข้าไม่ถึงการรักษา
                  พยาบาลของผู้รับบริการที่ด้อยโอกาสทางสังคม รวมถึงคนไร้รัฐ แรงงานข้ามชาติบางกลุ่ม และ

                  เด็กเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่ง ดังนี้
                                  ๑.๑)   ส�เหตุของก�รเข้�ไม่ถึงก�รรักษ�พย�บ�ลของผู้รับบริก�รที่ด้อยโอก�สท�ง

                  สังคม เกิดจาก  ๑) ผู้รับบริการไม่ทราบถึงสิทธิของตน หรือเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสาร  ๒) ผูกติดการให้
                  บริการรักษาพยาบาลกับสิทธิอื่น เช่น การมีสถานะบุคคลตามกฎหมาย การจดทะเบียนและการได้รับ

                  ใบอนุญาตทำางานของแรงงานข้ามชาติ และสิทธิการได้รับการศึกษา (เรียนฟรี ๑๕ ปี) ของเด็กเร่ร่อน/
                  เด็กไร้รากเหง้าฯ

                                  ๑.๒)   ปัญห�ก�รเข้�ไม่ถึงและม�ตรฐ�นก�รรักษ�พย�บ�ล ได้แก่ อุปสรรคด้าน
                  ภาษาและรูปแบบของระบบสาธารณสุขที่ไม่รองรับความแตกต่างด้านภาษาและวัฒนธรรม ระบบ

                  สาธารณสุขที่รองรับการโยกย้ายของผู้รับบริการไม่ยืดหยุ่น ผู้รับบริการฯ ไม่ได้รับความสะดวกในการ
                  เข้ารับการรักษาเนื่องจากอคติของเจ้าหน้าที่ ไม่มีระบบส่งต่อเด็ก/คนไร้ที่พึ่งที่มีอาการทางจิตใน

                  สถานสงเคราะห์และโรงพยาบาลจิตเวชที่ชัดเจน
                                  ๑.๓)   ม�ตรฐ�นก�รรักษ�พย�บ�ลและก�รเข้�ถึงก�รรักษ�พย�บ�ลของแต่ละกลุ่ม

                  มีประเด็นปัญห�ที่แตกต่�งกัน คือ  ๑) คนไร้รัฐ เข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาลเนื่องจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                  ทุจริต ทำาให้ไม่ได้รับเลขที่บัตรประจำาตัว  ๒) แรงงานข้ามชาติ ขาดนโยบายด้านสุขภาพของกลุ่มนี้

                  ที่บูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ และมีช่องว่างของระบบประกันสังคมและระบบประกันสุขภาพ
                  (จ่ายเงินไม่ครบ ๓ เดือนกรณีเจ็บป่วย/ประสบอุบัติเหตุ ทุพพลภาพ และ ๗ เดือนกรณีคลอดบุตร)

                  ๓) การดูแลเด็กเร่ร่อนและคนไร้ที่พึ่ง ยังทำาได้ไม่ทั่วถึง

                             ๒)  ความเห็นจากการรับฟังผู้แทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
                                  คณะอนุกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน

                  ๒๕๕๕ ได้เชิญผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
                  สำานักงานประกันสังคม และกรมบัญชีกลาง มาให้ข้อเท็จจริงและความเห็นเกี่ยวกับการจัดบริการ

                  สาธารณสุขตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการข้าราชการ
                  ดังนี้

                                  ๒.๑)  กรมสนับสนุนบริก�รสุขภ�พ กระทรวงส�ธ�รณสุข แจ้งว่า ขณะนี้อยู่ระหว่าง
                  จัดทำาร่างกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขใหม่ โดยนำาร่างของสำานักงาน
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95