Page 120 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 120
๑๐๖
๑) ประชาชนต้องมีสิทธิและมีส่วนร่วมในการกําหนดอนาคตของตนเอง สิทธิก็
คืออํานาจที่มีความชอบธรรม อยู่บนฐานของศีลธรรม จารีตประเพณี สิทธิขึ้นอยู่กับว่าเราอยู่ในฐานะ
อะไร สิทธิของคนกลุ่มต่าง ๆ สิทธิของชุมชนเป็นสิทธิของชาวบ้านกลุ่มคนชุมชน สิทธิในสังคมเป็น
ทรัพย์สินส่วนตัว สิทธิปัจเจกเพื่อรองรับการพัฒนาแบบทุนนิยม เพื่อสนองการอุปโภคบริโภคและ
การตลาด ต้องเอาทรัพยากรส่วนรวมไปสนองส่วนบุคคล ขบวนการแผนชุมชน เป็นสิทธิชุมชนขั้นสูง
ดังนั้นชาวนครศรีธรรมราชต้องการที่จะจัดทําแผนของชุมชน จังหวัด และกําหนดอนาคตของตนเองตาม
ฐานทรัพยากร จารีต ประเพณี และวิถีชีวิตของตนเอง รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกําหนด
แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นของตน อันจะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนลงได้ นอกจากนี้ใน
รัฐธรรมนูญเองก็ได้ระบุไว้ว่าประชาชนในพื้นที่มีสิทธิที่จะแสดงความเห็น มีส่วนร่วมในการตัดสินใจใน
การดําเนินโครงการใดๆ ในพื้นที่ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน ดังนั้น การกําหนดนโยบายของรัฐ
ต่อทิศทางการพัฒนาใดๆ ก็ตาม ควรเริ่มต้นจากระดับข้อเสนอของท้องถิ่นขึ้นมาพิจารณา
๒) เขตคุ้มครองพื้นที่ผลิตอาหารชายฝั่งทะเลจังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้จังหวัด
นครศรีธรรมราชตั้งอยู่ในมงคล ๓๘ ประการ โดยหนึ่งในมงคล ๓๘ คือ การอยู่ในพื้นที่อันเหมาะสมเป็น
มงคลอย่างยิ่ง คนโบราณเลือกสถานที่ตั้งพระธาตุ (การเลือกที่ตั้งจังหวัดนครศรีธรรมราช) เพราะมีทําเล
ดีที่สุด ยอดพระธาตุตรงกับยอดเขาหลวง มีลมแปดทิศ ยืนยันมาตั้งแต่ พ.ศ. ๘๐๐ เรื่องการตั้งพระธาตุ
การอยู่ในภูมิประเทศอย่างดีมีแนวภูเขา และคลองกว่า ๑๐ คลอง ไหลลงสู่ปากแม่น้ําสู่ทะเล ทําให้มีการ
หมุนเวียนแร่ธาตุสารอาหารจากที่สูงจากพื้นดินบนบกลงสู่ทะเล เกิดเป็นดอนต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งอาหาร
ของสัตว์น้ํา ทําให้มีความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ํา
จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลอ่าวไทยประมาณ ๒๒๕ กิโลเมตร
แต่พื้นที่เหล่านี้ไม่ได้อยู่ในเขตประกาศพื้นที่คุ้มครองสัตว์น้ําช่วงฤดูวางไข่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึง
พฤษภาคมของกรมประมง ซึ่งได้มีการกําหนดมาตรการในการห้ามใช้เครื่องมือทําการประมงบางชนิด
ในช่วงดังกล่าว ที่ผ่านมาชาวประมงอําเภอท่าศาลาได้มีการแจ้งความจํานงไปยังกรมประมงขอให้
ประกาศพื้นที่คุ้มครองสัตว์น้ําช่วงฤดูวางไข่ให้ครอบคลุมถึงอ่าวท่าศาลาด้วย อีกทั้งขณะนี้ชาวบ้านก็ได้
รวมตัวกันเพื่อผลักดันให้เกิดการประกาศให้อ่าวทองคําเป็นพื้นที่ “คุ้มครองแหล่งผลิตอาหาร” โดย
ร่วมกับสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการใช้กลไกการประกาศพื้นที่
คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
นอกจากนี้ชุมชนและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นก็กําลังร่วมกันผลักดันที่จะให้มีการใช้สิทธิชุมชนตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ในมาตรา ๖๖ และมาตรา ๒๙๐ จัดทําธรรมนูญ
ชุมชนและประกาศพื้นที่คุ้มครองแหล่งอาหารของชุมชนเช่นกัน โดยการใช้กลไกของการออกข้อบัญญัติ
ท้องถิ่น การสร้างธรรมนูญชุมชนปกป้องพื้นที่ผลิตอาหาร และกติกาชุมชนเรื่องเขตอนุบาลสัตว์น้ํา