Page 117 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 117

๑๐๓







                  อําเภอสิชล นายอําเภอสิชลก็บอกว่าได้ยินเสียง และชาวบ้านได้แจ้งร้องเรียนไปยังกํานันตําบลทุ่งปรัง
                  เพื่อให้เข้าไปตรวจสอบการดําเนินการของโรงงานที่ก่อให้เกิดเสียงดัง ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ก็

                  มีชาวบ้านหมู่ที่ ๒ ร้องเรียนไปยังสํานักนายกรัฐมนตรี ซึ่งทางสํานักนายกรัฐมนตรีก็ได้ส่งหนังสือ

                  สอบถามมายังนายอําเภอสิชล หลังจากนั้นนายอําเภอสิชลก็ส่งเรื่องดังกล่าวต่อมายังผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๔
                  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๔ จึงนําหนังสือจากสํานักนายรัฐมนตรีไปสอบถามกับผู้จัดการโรงงานเรื่องเสียงดังจาก

                  โรงงานที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน ผู้จัดการโรงงานแจ้งว่าเสียงที่ดังนั้นเกิดขึ้นในช่วงทดสอบการเดิน

                  เครื่องจักรกลของโรงงานก่อนเปิดการดําเนินการผลิต ซึ่งปัจจุบันได้มีการเปิดดําเนินการโรงงานและทํา
                  การผลิตเต็มรูปแบบแล้ว จากการให้ข้อมูลของผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๔ ในการจัดทําเวทีของโครงการวิจัย

                  พบว่าปัจจุบันเสียงที่ดังจากโรงงานได้ลดน้อยลง แต่ชุมชนก็ยังมีปัญหาเรื่องกลิ่น โดยกลิ่นที่เกิดขึ้นนั้นจะ

                  พัดพาไปถึงสองตําบล ถึงแม้ว่าโครงการนี้จะมีการดําเนินการที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาภาคใต้ แต่
                  การพัฒนาและดําเนินการของโรงงานที่ได้เข้ามาในพื้นที่ช่วงระยะเวลาเดียวกับกระแสการพัฒนา

                  อุตสาหกรรมปิโตรเคมีในอําเภอสิชล ทําให้ชาวบ้านสงสัยและไม่ไว้วางใจว่าการพัฒนาโรงงานจะเป็น

                  โครงแรกเริ่มที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาพื้นที่อําเภอสิชลให้เป็นอุตสาหกรรมหนักในอนาคต



                         ๕.๒.๓  ประเด็นการละเมิดสิทธิ กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช


                                ๑)  สิทธิในการกําหนดอนาคตและเจตจํานงของตนเองและสิทธิในการพัฒนา

                             เช่นเดียวกับกรณีศึกษาในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จะเห็นได้ว่าชาวบ้านและชุมชน

                  ท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ไม่ได้มีสิทธิในการกําหนดอนาคตของตนเองเลย โครงการขนาดใหญ่

                  ต่าง ๆ ที่เป็นกรณีร้องเรียนของชาวบ้าน ล้วนเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับโครงการที่จัดทําขึ้น
                  ภายใต้แผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ ที่ถูกผลักดันมาจากต่างประเทศและหน่วยงานรัฐระดับชาติ ไม่ว่า

                  จะเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ

                  สังคมแห่งชาติ กระทรวงพลังงาน ให้จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางผลิตปิโตรเคมีและพลังงาน
                  ของประเทศและภูมิภาค หลังจากนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมภายใต้การนําเสนอของสํานักงาน

                  คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็ได้ศึกษาหาพื้นที่เหมาะสมเพื่อที่จะรองรับการ

                  จัดทํานิคมอุตสาหกรรม กําหนดออกมาเป็นพื้นที่อําเภอท่าศาลาและอําเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
                  ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาปิโตรเคมีในระยะที่ ๓ ของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยที่จะขยาย

                  พื้นที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีสู่ภาคใต้โดยใช้จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลาง นอกจากนั้นกระทรวง

                  พลังงานก็ยังได้มอบหมายให้ บริษัท ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (มหาชน) จํากัด เป็นผู้รับผิดชอบใน
                  การจัดจ้าง บริษัท Phoenix  Petroleum  ดําเนินการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาคใต้โดยใช้ผลิตผลใน

                  พื้นที่เสริมสร้างอุตสาหกรรมพลังงานและอุตสาหกรรมต่อเนื่องครบวงจร ผลการศึกษาได้นําเสนอให้มี
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122