Page 115 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 115

๑๐๑







                  ด้านล่างอีกจํานวนมาก ชาวบ้านจึงมีข้อเสนอให้รัฐพัฒนาและส่งเสริมทางการเกษตร หรือส่งเสริมการ
                  ท่องเที่ยวเชิงนิเวศเชิงอนุรักษ์ ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่มากกว่าและชาวบ้านก็จะได้รับ

                  ผลประโยชน์เต็มที่

                              ที่ผ่านมาชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยและได้ร่วมกันเคลื่อนไหว เพราะว่าพื้นที่

                  ดังกล่าวนั้นไม่เหมาะสมกับการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ํา เนื่องจากชั้นดินข้างล่างเป็นหินทราย ถ้าสร้าง

                  แล้วเขื่อนจะมีโอกาสพังได้ง่าย จนกระทั่งมีการระงับและชะลอโครงการก่อสร้างเขื่อนท่าทนไปแล้ว และ
                  ชาวบ้านก็คิดว่าโครงการนี้ล้มเลิกไปแล้ว แต่หลังจากนั้นก็มีหน่วยงานมาสํารวจเรื่องที่ดิน แล้วให้

                  ชาวบ้านลงชื่อรับทราบว่าเป็นเจ้าของที่ดิน ด้วยความไม่รู้ชาวบ้านจึงเซ็นชื่อไป และมาทราบในภายหลัง

                  ว่าเป็นการยินยอมเรื่องการสร้างอ่างเก็บน้ํา แต่หลังจากที่ชาวบ้านศึกษาเอกสารแล้วเห็นข้อมูลชัดเจนว่า
                  อ่างเก็บน้ํานี้สร้างขึ้นเพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่จะเกิดขึ้นที่อําเภอท่าศาลา และอําเภอสิชล

                  ในอนาคต ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่จากสํานักงานชลประทานจะชี้แจงว่า สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเกษตรในพื้นที่

                  ตําบลฉลอง โดยจะมีระบบชลประทานเพิ่มเติม ๓,๐๐๐  ไร่  และเมื่อปีที่แล้วเจ้าหน้าที่จากสํานักงาน
                  ชลประทานเข้ามาบอกว่าเป็นการสร้างเพื่อใช้ในการเกษตรอย่างเดียว ชาวบ้านก็ไม่เชื่อและไม่เห็นด้วย

                  เพราะการทําเกษตรพื้นที่เทพราช ฝนจะทิ้งช่วงยาวนานที่สุดก็สองสามเดือน จึงไม่ขาดน้ําเลย และ

                  ชาวบ้านมีความเห็นว่ารัฐบาลน่าจะสร้างฝายน้ําล้นขนาดเล็ก ๆ เพื่อเก็บน้ําจะดีกว่า  ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕
                  นายอําเภอคนใหม่ก็ยังพยายามที่จะรื้อฟื้นโครงการขึ้นมาใหม่อีก โดยเรียกแกนนําชาวบ้านไปคุย และมี

                  การพูดถึงเรื่องนี้ในที่ประชุม รวมทั้งมีการประสานกับสํานักงานชลประทานที่ ๕ เพื่อที่จะให้เข้ามา

                  ดําเนินการ ชาวบ้านกล่าวว่ากลไกของรัฐได้เข้ามาได้ละเมิดสิทธิของชุมชน เพราะเรื่องโครงการเขื่อนเป็น
                  เรื่องที่ไม่เคยให้ข้อมูลประชาชนเลยว่าจะเอาเขื่อนไปทําอะไร การเวนคืนที่ดิน ค่าชดเชย เป็นอย่างไร

                  พูดแต่เรื่องเดียวว่าจะสร้าง

                            (๓) โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ําลาไม


                              โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ําลาไมตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๘ ตําบลวังอ่าง
                  อําเภอชะอวด เป็นเขื่อนที่ไม่มีภูเขากั้น ต้องสร้างแนวสันเขื่อนยาว ๖ กิโลเมตร นับว่ายาวที่สุดใน

                  ประเทศไทย พื้นที่อ่างเป็นที่ราบ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกยางพาราของชาวบ้านร้อยละ ๘๐ ส่วนที่เหลือเป็น

                  พื้นที่ปลูกไม้ผล ในขณะที่พื้นที่ตอนล่างของเขื่อนเป็นนาข้าว รวมพื้นที่อ่างเก็บน้ําทั้งหมด ๗,๘๕๐ ไร่
                  และมีพื้นที่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ๕ หมู่บ้าน รวมประมาณ ๘๐๐ หลังคาเรือน ได้แก่ หมู่ ๒ บ้านลาไม

                  หมู่ ๘ บ้านควนเหนือ หมู่ ๖ บ้านควนมิตร ตําบลวังอ่าง รวมถึง หมู่.๑ และหมู่ ๖ ตําบลเขาพระทอง

                  อําเภอชะอวด โดยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘ กรมชลประทานได้เข้ามาในพื้นที่เพื่อเปิดเวทีแจ้งเรื่องการสร้าง
                  เขื่อน พร้อมทั้งการเวนคืน โดยไม่ให้ข้อมูลรายละเอียดของโครงการ แต่เน้นย้ําว่าโครงการดังกล่าวเป็น

                  โครงการพระราชดําริ เมื่อทราบข้อมูลจากสํานักงานชลประทานที่ ๕ ชาวบ้านจึงเริ่มติดตามข้อมูล
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120