Page 118 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 118

๑๐๔







                  การตั้งโรงกลั่นน้ํามันและโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ต่อเนื่องไปถึงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีใน
                  จังหวัดนครศรีธรรมราชเช่นกัน สรุปได้ว่าอนาคตของเมืองนครศรีธรรมราชภายใต้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

                  ล้วนถูกกําหนดมาจากหน่วยงานภายนอกและเอกชนผู้ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากภายนอกทั้งสิ้น

                  โดยที่ประชาชนในจังหวัดก็ไม่มีสิทธิไม่มีเสียงในการบริหารจัดการและพัฒนาจังหวัดท้องถิ่นของตนเอง
                  เลย  และเป็นการละเมิดสิทธิในการกําหนดอนาคตและเจตจํานงรวมทั้งสิทธิในการพัฒนาของชุมชน

                  ท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน

                                ๒)  สิทธิในมาตรฐานการครองชีพ


                             “ออกทะเลจับปูได้กินปู ลงอวนปลาได้กินปลา เราภูมิใจที่คนท่าศาลาสามารถ
                  เลี้ยงชาวนครศรีธรรมราช และคนไทยได้ทั้งประเทศ รวมถึงยังมีการส่งออกกั้งเป็นอาหารทะเลโด่งดังไป

                  ทั่วโลก”  นายสุพร โต๊ะเส็น นายกสมาคมประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าว

                  ยืนยันถึงความอุดมสมบูรณ์ของอ่าวทองคํา อําเภอท่าศาลาและอําเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่ง
                  เป็นที่รู้จักกันและเรียกขานกันในหมู่ชาวประมงว่า“อ่าวทองคํา” การรุกคืบเข้ามาของโครงการต่าง ๆ

                  ภายใต้แผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ เป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ชาวบ้านไม่เคยเจอมาก่อน และมี

                  ความห่วงกังวลเป็นอย่างมากว่าการเปลี่ยนนครศรีธรรมราชให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและ
                  พลังงาน จะนํามาสู่การทําลายแหล่งทรัพยากรประมงและอาหารในทะเลที่เป็นฐานในการประกอบ

                  อาชีพของชุมชนชาวประมงกว่า ๒,๐๐๐ ครัวเรือน รวมทั้งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังอุตสาหกรรม

                  ต่อเนื่องกับผลิตผลประมงจํานวนมากมายทั้งส่งออกและแปรรูปอาหารทะเลชาวประมงพื้นบ้านได้
                  ประกอบอาชีพประมงสืบต่อมารุ่นต่อรุ่น ทั้งความรู้ในการค้นหาแหล่งที่อยู่ของปลาและความรู้ในการใช้

                  เครื่องมือประมงที่แตกต่างกันไป ทะเลท่าศาลาเพียงพอให้ชาวประมงจํานวนมากสามารถทํามาหากินกัน

                  ได้อย่างเพียงพอ ไม่จําเป็นต้องออกไปทํางานที่อื่น ระบบเศรษฐกิจทางการประมงที่นี่มีความอุดม
                  สมบูรณ์ ข้อมูลที่ได้จากการทําการประเมินผลกระทบสุขภาพโดยชุมชนของเครือข่ายประมงพื้นบ้านสิชล

                  อําเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่าจะมีชาวประมงพื้นบ้านจํานวนมากได้รับผลกระทบจาก

                  การดําเนินโครงการ ชาวประมงพื้นบ้านจาก ๑๑ หมู่บ้าน มีการจ้างงานในชุมชนกว่า ๕,๐๐๐ คน และ
                  ชาวบ้านแต่ละคนนั้นจะได้รายได้จากการทําประมงพื้นบ้านอย่างต่ําวันละ ๓๐๐-๑,๐๐๐ บาท


                             การก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ทั้งท่าเรือน้ําลึก นิคมอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าถ่านหิน
                  โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ หรือแม้แต่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ล้วนแต่มีทําเลที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลทั้งนั้น

                  นอกจากนี้การก่อสร้างโครงการต้องมีการขุดลอกร่องน้ําในทะเล ทําให้สภาพทางภูมิประเทศของทะเล

                  เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งมีความหนาแน่นของการคมนาคมขนส่งทางทะเล ส่งผลต่อการทําลายความอุดม
                  สมบูรณ์ของทรัพยากรอาหารในทะเล อันเป็นการคุกคามต่อสิทธิในมาตรฐานการครองชีพของ

                  ชาวประมงพื้นบ้านและชุมชนท้องถิ่น
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123