Page 110 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 110
๙๖
ได้มีการศึกษาไว้ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลก ได้แก่ บริษัท นิปปอนสตีล และ
บริษัท เจเอฟอี สตีล คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น บริษัท บาว สตีล ประเทศจีน และบริษัท อาร์ซีลอร์
ประเทศฝรั่งเศส ได้แสดงความสนใจต่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่จะมาลงทุนโรงถลุงเหล็ก
ขั้นต้นในประเทศไทย และกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่ง
ประเทศไทย ศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ก่อตั้งอุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งบ้านบางปอ อําเภอสิชล จังหวัด
นครศรีธรรมราช เป็นหนึ่งในพื้นที่มีความเหมาะสม ทั้งนี้อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ําต้องใช้พื้นที่ประมาณ
๕,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ ไร่ นอกจากนี้ภาคใต้ยังมีพื้นที่เหมาะสมอื่น ได้แก่ อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา ซึ่ง
เป็นเขตติดต่อกับพื้นที่อําเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช
๖) โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือและศูนย์สนับสนุนการสํารวจและผลิตปิโตรเลียม
ในอ่าวไทย บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสํารวจและผลิต จํากัด
โครงการนี้เป็นการก่อสร้างศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติงานสํารวจและผลิตปิโตรเลียม
ในอ่าวไทยของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสํารวจและผลิต จํากัด ซึ่งจะบริหารงานในนามของบริษัท
เอ็นเอสที ซับพลายเบส จํากัด ตั้งอยู่ที่ปากน้ําคลองกลาย บ้านบางสาร ตําบลกลาย อําเภอท่าศาลา
ก่อนหน้านี้การศึกษาดําเนินการโดยบริษัท เอเชีย คอนซัลแตนท์ จํากัด ซึ่งได้ออกแบบเป็นท่าเรือทึบติด
กับพื้นที่หาด และมีแนวกันคลื่นทึบวางขวางเหนือใต้ ทําให้ชาวบ้านคัดค้านอย่างหนัก ต่อมาบริษัท
เชฟรอนฯ ได้ว่าจ้างบริษัท อีอาร์เอ็มสยาม จํากัด และบริษัท ยูเออี จํากัด ทําการศึกษาใหม่ โดยระบุ
พื้นที่ที่อยู่บนบกทั้งหมดประมาณ ๓๙๐ ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่อาคารสํานักงานคลังเก็บวัสดุอุปกรณ์ ลานกอง
วัสดุ คลังเก็บเคมีภัณฑ์ใช้ในการขุดเจาะปิโตรเลียม อาคารซ่อมบํารุง พื้นที่จัดเก็บขยะและวัสดุที่ใช้แล้ว
ชั่วคราว ลานจอดรถ ถังเก็บน้ําประปา บ่อกักเก็บน้ําดิบจํานวน ๑๐๕ ไร่ ถนนและพื้นที่กันชนสองข้าง
ทาง ๓๖ ไร่ และพื้นที่สีเขียวกันชน ๒๔๙ ไร่ ส่วนที่อยู่ในทะเลจะมีรูปร่างเป็นรูปตัวแอล (L)
ประกอบด้วยท่าเทียบเรือขนาด ๓๓๐ x ๓๓ เมตร สามารถจอดเรือได้พร้อมกัน ๔ ลํา มีสะพานจากท่า
เทียบเรือเชื่อมกับบนฝั่งยาวออกไปในทะเลประมาณ ๕๐๐ เมตร เสาสะพานห่างกัน ๑๒ เมตร ความสูง
จากระดับน้ําทะเลสูงสุด ๕ เมตร นอกจากนี้ในทะเลยังมีการสร้างกําแพงกันคลื่น และทําร่องน้ํา
ทางเข้าออกท่าเทียบเรือและแอ่งกลับเรือลึก ๘.๕ เมตรจากระดับทะเลปานกลาง
พื้นที่โครงการตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ํากลาย เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ที่ชาวบ้านทั่วไปใช้
ทํามาหากิน การก่อสร้างในบริเวณนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อชาวบ้านและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การ
ผลักดันให้เกิดโครงการนี้ก็เป็นที่วิจารณ์ถึงความโปร่งใส เพราะชาวบ้านทั่วไปไม่ทราบข้อมูล ทั้งยังมีการ
ประชาสัมพันธ์ที่มีลักษณะให้สินจ้างรางวัลแบ่งแยกชาวบ้าน จนชาวบ้านหวาดกลัวไม่กล้าแสดง
ความเห็นคัดค้าน แม้การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก็ไปจัดนอกพื้นที่ตําบล ในขณะที่
บริษัทผู้ศึกษาคาดว่าจะนําเสนอรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อสํานักงานนโยบายและ