Page 109 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 109
๙๕
รูปแบบที่ ๑ เป็นการพัฒนาท่าเรืออย่างเต็มรูปแบบ ประกอบด้วยท่าเรือน้ํามัน
และท่าเรือเอนกประสงค์ รวม ๕ ท่า ได้แก่ ท่าเรือน้ํามัน เพื่อรองรับเรือขนาด ๓๐,๐๐๐–๖๐,๐๐๐ DWT
จํานวน ๒ ท่า และรองรับเรือขนาด ๖,๐๐๐ DWT จํานวน ๑ ท่า ท่าเรือเอนกประสงค์ ขนาดหน้าท่ายาว
๒๐๐ เมตร เพื่อรองรับสินค้าตู้คอนเทรนเนอร์ จํานวน ๑ ท่า และรองรับสินค้าเทกอง จํานวน ๑ ท่า
รูปแบบที่ ๒ เป็นการพัฒนาท่าเรือรองรับเฉพาะสินค้าเหลว โดยมีท่าเรือรองรับ
เรือขนาด ๓๐,๐๐๐–๖๐,๐๐๐ DWT จํานวน ๒ ท่า และขนาด ๖,๐๐๐ DWT จํานวน ๑ ท่า
ปัจจุบันนอกจากรายงานการศึกษาความเหมาะสมดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังไม่มีการ
ดําเนินการโครงการนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือดังกล่าว
๔) โครงการก่อสร้างระบบท่อพลังงาน
โครงการที่เกี่ยวเนื่องกันคือการสร้างระบบท่อส่งก๊าซและน้ํามันมายังบริเวณที่จะ
สร้างนิคมอุตสาหกรรมในอําเภอสิชลและอําเภอท่าศาลา ปัจจุบันไทยมีระบบท่อส่งก๊าซทั้งบนบกและใน
ทะเลที่วางท่อไปขึ้นฝั่งที่ระยองและสงขลาอยู่แล้ว รวมระยะทาง ๒,๖๕๐ กิโลเมตร และจะมีการสร้าง
ระบบท่อก๊าซเพิ่ม เพื่อนําก๊าซมาขึ้นฝั่งที่บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการวางท่อน้ํามันจะเชื่อมต่อ
จากทุ่นลอยกลางทะเลผ่านใต้ผิวน้ํามายังอําเภอสิชลระยะทาง ๓๗.๕ กิโลเมตร และมายังอําเภอท่าศาลา
ระยะทาง ๔๒.๕ กิโลเมตร และจะสร้างท่อส่งก๊าซและน้ํามันทางบกเชื่อมไปยังถนนเซาเทิร์นซีบอร์ดสาย
กระบี่-ขนอมอีกด้วย
นอกจากนี้กระทรวงพลังงาน ได้มอบหมายให้สํานักงานโยบายและแผนพลังงาน
(สนผ.) จัดทําโครงการศึกษาสร้างท่อส่งน้ํามันจากฝั่งทะเลอันดามันข้ามมาฝั่งอ่าวไทย (Energy Bridge)
เพื่อเป็นเส้นทางขนส่งน้ํามันใหม่ในภูมิภาคอาเซียนตามแผนยุทธศาสตร์พลังงาน ๒๐ ปี ของประเทศ
โดยได้ทําการศึกษาความเป็นไปได้ไว้ ๓ เส้นทาง ได้แก่ (๑) ท่อส่งน้ํามันจากจังหวัดทวายของพม่าผ่าน
อําเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี แล้วลงทะเลอ่าวไทยไปยังพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ความยาว
ท่อระยะรวม ๕๐๐ กิโลเมตร (๒) ท่อส่งน้ํามันจากเขาหลัก จังหวัดพังงา สู่ อําเภอสิชล จังหวัด
นครศรีธรรมราช ระยะทางรวม ๒๕๐ กิโลเมตร (๓) ท่อส่งน้ํามันจากปากบารา จังหวัดสตูล ถึงจังหวัด
สงขลา ระยะรวม ๓๐๐ กิโลเมตร ซึ่งการสร้างท่อน้ํามันดังกล่าวมีความจําเป็นต้องสร้างคลังเก็บน้ํามัน
ปลายท่อทั้ง ๒ ด้าน โดยเบื้องต้นคาดว่าคลังน้ํามันจะรองรับน้ํามันได้ ๘-๑๐ ล้านบาร์เรลต่อวัน ปัจจุบัน
โครงการอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ รวมทั้งรูปแบบการลงทุน
๕) โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ํา
การพัฒนาโครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ําก็เป็นโครงการส่วนหนึ่งที่ได้ถูกระบุไว้
ในแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ ตามที่สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ