Page 47 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 47

คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 45







                            ๖.  ศาลปกครองพิษณุโลก โดยมีเขตอำานาจตลอดท้องที่จังหวัดพิษณุโลก  จังหวัดกำาแพงเพชร

                     จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์
                            ๗.  ศาลปกครองระยอง โดยมีเขตอำานาจตลอดท้องที่จังหวัดระยอง  จังหวัดจันทบุรี  จังหวัด

                     ฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว
                            ๘.  ศาลปกครองนครศรีธรรมราช โดยมีเขตอำานาจท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  จังหวัดกระบี่

                     จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี และมีเขตอำานาจเพิ่มเติมในจังหวัดชุมพร และจังหวัด
                     ระนอง

                            ๙.  ศาลปกครองอุดรธานี โดยมีเขตอำานาจท้องที่จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัด
                     หนองบัวลำาภู จังหวัดอุดรธานี และมีเขตอำานาจเพิ่มเติมในจังหวัดนครพนม จังหวัดบึงกาฬ และ

                     จังหวัดสกลนคร
                            ๑๐. ศาลปกครองอุบลราชธานี โดยมีเขตอำานาจท้องที่จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัด

                     ศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอำานาจเจริญ


                            ช่องทางการใช้กลไกศาลปกครองเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน

                            ศาลปกครองถือเป็นกลไกที่สำาคัญที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิของประชาชน ซึ่งเป็นศาลที่มีความ

                     แตกต่างจากศาลอื่นๆ ทั้งกระบวนพิจารณาและอำานาจหน้าที่พิจารณาคดีที่เกี่ยวกับคดีปกครอง
                     ในหัวข้อนี้อธิบายถึง การฟ้องคดีปกครองและตัวอย่างการยื่นฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองกลาง

                     เนื่องจากเป็นข้อควรทราบก่อนการใช้กลไกนี้  อย่างไรก็ตาม ผู้อ่านสามารถศึกษารายละเอียดของ
                     การฟ้องคดี การดำาเนินกระบวนการพิจารณาคดี แบบพิมพ์เกี่ยวกับคดี และค่าธรรมเนียมศาลได้ที่

                     เวปไซด์ของศาลปกครอง
                     http://www.admincourt.go.th/00_web/02_kadee/02_kadee.htm


                     ก�รฟ้องคดีปกครอง ๑๔

                            เนื่องจากคดีปกครองมีลักษณะพิเศษต่างไปจากคดีแพ่งและคดีอาญา ดังนั้น จึงต้องมีวิธี

                     พิจารณาที่เหมาะสมกับสภาพของคดีปกครองเอง ซึ่งได้แก่วิธีพิจารณาแบบไต่สวนอันเป็นวิธีการที่มี
                     หลักสำาคัญในการให้อำานาจศาลในการแสวงหาข้อเท็จจริงได้อย่างกว้างขวาง และเป็นผู้ดำาเนินกระบวน

                     พิจารณาเอง
                            อย่างไรก็ดี การพิจารณาคดีปกครองยังคงต้องเคารพหลักทั่วไปของระบบวิธีพิจารณาคดี

                     อันเป็นหลักการที่มุ่งเน้นให้มีการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรมและมีประสิทธิภาพ เช่น การฟังความ
                     สองฝ่าย การพิจารณาไปตามกรอบของคำาฟ้องและคำาขอท้ายฟ้อง การคัดค้านตุลาการ เป็นต้น





                     ๑๔  http://www.admincourt.go.th/00_web/02_kadee/02_accuse/02_acc01.htm
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52