Page 52 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 52

50 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง




                         ในมาตรา ๒๔๔ ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

                         (๑)  พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำาร้องเรียนในกรณี

                             (ก)  การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำานาจหน้าที่ตามกฎหมายของ
                  ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการ

                  ส่วนท้องถิ่น
                             (ข)  การปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ของ

                  หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
                  แก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยอำานาจหน้าที่ก็ตาม

                             (ค)  การตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วย
                  กฎหมายขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้ไม่รวมถึงการพิจารณา

                  พิพากษาอรรถคดีของศาล
                             (ง)  กรณีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ


                         (๒)  ดำาเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม
                  มาตรา๒๗๙* วรรคสาม และมาตรา ๒๘๐*

                         (๓)  ติดตาม ประเมินผล และจัดทำาข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ รวมตลอดถึง

                  ข้อพิจารณาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในกรณีที่เห็นว่าจำาเป็น

                         (๔) รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรี  สภา
                  ผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาทุกปี ทั้งนี้ ให้ประกาศรายงานดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาและเปิดเผยต่อ

                  สาธารณะด้วย
                         การใช้อำานาจหน้าที่ตาม (๑) (ก) (ข) และ (ค) ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินดำาเนินการเมื่อมีการร้อง

                  เรียน  เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าการกระทำาดังกล่าวมีผลกระทบต่อความเสียหายของ

                  ประชาชนส่วนรวมหรือเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจพิจารณาและสอบสวน
                  โดยไม่มีการร้องเรียนได้


                         นอกจากนี้  ตามมาตรา๒๔๕  ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาล
                  ปกครองได้ เมื่อเห็นว่ามีกรณีดังต่อไปนี้

                         (๑)  บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ให้เสนอเรื่อง
                  พร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ และให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้

                  ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

                         (๒)  กฎ คำาสั่ง หรือการกระทำาอื่นใดของบุคคลใดตามมาตรา ๒๔๔ (๑) (ก) มีปัญหาเกี่ยวกับ
                  ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง และให้
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57