Page 44 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 44

42 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง




                  ยิ่งกระบวนการยุติธรรมทางอาญาแล้ว ย่อมมีเพื่อสมดุลที่แตกต่างกันและบางครั้ง หรือมีข้อขัดแย้ง
                                         ๑๒
                  กับผลประโยชน์ ตัวอย่างเช่น  :

                         v  ผลประโยชน์ทางกฎหมายของประเทศ กฎหมายในประเทศ การปราบปรามอาชญากรรม
                             และเพื่อความสงบเรียบร้อย
                         v  ผลประโยชน์ของเหยื่อจากอาชกรรมและการละเมิด

                         v  สิทธิของผู้ถูกกล่าวหา หรือผู้ที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่ากระทำาความผิดจริง และผู้ที่ถูก

                             ตัดสินจำาคุก

                         ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติคำาจำากัดความของข้อหาและบทลงโทษไว้ ส่วนประมวล

                  กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น กฎหมายครอบครัว กฎหมายสัญญา บัญญัติสิทธิ หน้าที่ความสัมพันธ์
                  ระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือ เอกชนกับเอกชน ในส่วนของกระบวนการพิจารณาอาญาและแพ่งนั้น

                  ยึดหลัก “วิถีที่ถูกต้องแห่งกฎหมาย” (due processes of law) ที่ติดตามในกระบวนการยุติธรรม
                  และหลักการนี้ก็เป็นหลักของการประกันสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม

                             ข้อกำาหนดหรือช่องทางของประชาชนต่อการรับรองสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการ
                  ยุติธรรม และนำาคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนสู่กระบวนการทางศาล มีดังนี้


                         กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
                         v  ผู้เสียหายและอัยการมีสิทธิในเป็นผู้ฟ้องคดีอาญาต่อศาล(ประมวลกฎหมายอาญา

                             มาตรา ๒๘)

                         v  ผู้ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิยื่นคำาร้องต่อศาลท้องที่ที่มีอำานาจพิจารณาคดี
                             อาญาขอให้ปล่อยตัว (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐)
                         v  ผู้ถูกกล่าวหาหรือจำาเลยชั่วคราวที่ต้องควบคุมหรือขังตามหมายศาล ย่อมยื่นคำาร้องขอ

                             ประกันตัวได้(ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๐๖)

                         v  บุคคลสามารถยื่นคำาร้องเพื่อขออุทธรณ์คำาพิพากษาของศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและ
                             ข้อกฎหมายได้ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๙๓)
                         v  บุคคลสามารถยื่นคำาร้องเพื่อขอฎีกาคำาพิพากษาในชั้นศาลอุทรณ์ได้


                         กระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง

                         v  บุคคลสามารถฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิได้







                  ๑๒  Human Rights in Criminal Justice System. Seminar Report 2009, organized by Raoul Wallenberg Institute, in
                     cooperation with European Court of Human Rights, the International Institute of Human Rights and University
                     of Strasbourg.
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49