Page 43 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 43
คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 41
ที่มา : http://www.constitutionalcourt.or.th/index.php?option=com_docman&task=cat_view&gid=145
&Itemid=94&lang=th&limitstart=30
จากตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นถึงการสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชนไทยในเรื่องความ
เท่าเทียมกันทางเพศ กรณีชื่อสกุลของหญิงที่สมรสแล้ว โดยหลักดังกล่าวก็ได้นำามาเป็นระเบียบวิธี
ปฏิบัติในระบบทะเบียนและสังคมไทยต่อมา
๑.๒
ศ�ลยุติธรรม
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ศาลยุติธรรมมีอำานาจพิจารณา
พิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำานาจของศาลอื่น (มาตรา
๒๑๘) และในมาตรา ๒๑๙ ระบุว่า ศาลยุติธรรมมีสามชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้หรือตามกฎหมายอื่น
ศาลฎีกามีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้เสนอต่อศาล
ฎีกาได้โดยตรง และคดีที่อุทธรณ์หรือฎีกาคำาพิพากษาหรือคำาสั่งของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์
ตามที่กฎหมายบัญญัติ เว้นแต่เป็นกรณีที่ศาลฎีกาเห็นว่าข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่อุทธรณ์หรือ
ฎีกานั้นจะไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณา ศาลฎีกามีอำานาจไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษาได้
ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำาหนด
ศาลฎีกามีอำานาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิ
เลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และให้ศาลอุทธรณ์
มีอำานาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือก
ตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้ วิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดีให้เป็นไปตามระเบียบ
ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำาหนด โดยต้องใช้ระบบไต่สวนและเป็นไปโดยรวดเร็ว
ให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา โดยองค์คณะผู้พิพากษา
ประกอบด้วย ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำารงตำาแหน่งไม่ต่ำากว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือ
ผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดำารงตำาแหน่งไม่ต่ำากว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาจำานวนเก้าคน ซึ่งได้รับเลือก
โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ และให้เลือกเป็นรายคดี
อำานาจหน้าที่ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมืองและวิธีพิจารณา
คดีอาญาของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ และใน
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง
ศาลยุติธรรมโดยเฉพาะศาลอาญานั้นมีบทบาทสำาคัญในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิ
มนุษยชนกระบวนการยุติธรรมในการปกครองสังคมระบอบประชาธิปไตย ยึดมั่นหลักนิติธรรม