Page 42 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 42
40 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
...ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาแล้ว เห็นว่า ตามคำาร้องมีประเด็นที่ให้วินิจฉัยว่า บทบัญญัติ
แห่งกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๑๒ มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วย
รัฐธรรมนูญ จึงอยู่ในอำานาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะรับคำาร้องของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ที่เสนอเรื่องพร้อมความเห็นดังกล่าวไว้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. ๒๕๔๐) มาตรา ๑๙๘
…ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาวินิจฉัยต่อไปมีว่า พระราชบัญญัติชื่อบุคคล
พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๑๒ มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐ หรือไม่
...(พิจารณาแล้วว่า) เมื่อบทบัญญัติมาตรา ๑๒ มีลักษณะเป็นบทบังคับให้หญิงมีสามีต้อง
ใช้ชื่อสกุลของสามีเท่านั้นอันเป็นการลิดรอนสิทธิในการใช้ชื่อสกุลของหญิงมีสามี ทำาให้ชายและหญิง
มีสิทธิไม่เท่าเทียมกัน เกิดความไม่เสมอภาคกันทางกฎหมายด้วยเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องเพศ
และสถานะบุคคล เนื่องจากสิทธิการใช้ชื่อสกุลนั้นเป็นสิทธิของบุคคลที่จะแสดงเผ่าพันธุ์ เทือกเถา
เหล่ากอของตน และเป็นสิทธิที่ทุกคนมีอยู่อย่างเท่าเทียมกัน โดยมิได้มีการแบ่งแยกว่าเป็นสิทธิของ
ชายหรือของหญิง อีกทั้งเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เนื่องจากการบังคับให้หญิงมีสามีใช้
ชื่อสกุลของสามีเพียงฝ่ายเดียวโดยใช้สถานะการสมรมนั้น มิได้เป็นเหตุผลในเรื่องความแตกต่างทาง
กายภาพ หรือภาระหน้าที่ระหว่างชายและหญิงที่มีผลมาจากความแตกต่างทางเพศ จนทำาให้ต้อง
มีการเลือกปฏิบัติให้แตกต่างกัน จึงไม่เป็นเหตุที่ทำาให้ต้องมีการเลือกปฏิบัติแตกต่างกันในเรื่องเพศ
และสถานะของบุคคลได้
สำาหรับข้ออ้างที่ว่า การเลือกปฏิบัติดังกล่าวมีเหตุผลทางสังคมที่ว่า เพื่อความเป็น
เอกภาพและความสงบสุขของครอบครัว อีกทั้งสอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชนชาวไทยนั้น
พิจารณาแล้วเห็นว่า ข้ออ้างดังกล่าวรับฟังไม่ได้ เนื่องจากความเป็นเอกภาพและความสงบสุขของ
ครอบครัวเกิดจากความเข้าใจ การยอมรับ และการให้เกียรติซึ่งกันและกันระหว่างสามีและภริยา
ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยการใช้ชื่อสกุลฉบับแรกของประเทศไทยเพิ่งตราขึ้นเมื่อปี ๒๔๕๖ โดย
ก่อนหน้านั้นประเทศไทยไม่มีระบบการใช้ชื่อสกุล จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่มี
มาช้านาน อีกทั้ง การให้หญิงมีสามีมีสิทธิใช้ชื่อสกุลเดิมของตนได้นั้น เป็นเพียงการส่งเสริมให้ชายและ
หญิงมีสิทธิอย่างเสมอภาคกันทางกฎหมายเท่านั้น
... ด้วยเหตุผลที่ได้พิจารณามาข้างต้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก จำานวน
๑๓ คน จาก ๑๕ คน... เห็นว่า พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๑๒ มีปัญหาเกี่ยวกับ
ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ...
.. ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ.๒๕๐๕ มาตรา ๑๒ ไม่ชอบด้วย
รัฐธรรมนูญ เพราะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (พ.ศ.๒๕๔๐) มาตรา ๓๐ เป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๖..
บางส่วนความจากคำาวินิจฉัยที่ ๒๑/๒๕๔๖