Page 45 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 45
คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 43
๑.๓
ศ�ลปกครอง
คือ ศาลที่มีอำานาจในการพิจารณาพิพากษา “คดีปกครอง” ซึ่ง คดีปกครองหมายถึง คดีที่เป็น
ข้อพิพาท
v ระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่ง
v ข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเองอีกกรณีหนึ่ง
v โดยเป็นข้อพิพาทที่เกิดจากหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำาการโดย
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำาหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติ
หน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร กระทำาละเมิดหรือมีความรับผิดอย่างอื่นอันเกิดจากการ
ใช้อำานาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำาสั่งทางปกครอง หรือคำาสั่งอื่นหรือจากการละเลย
ต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำาหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
หรือเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
อำ�น�จหน้�ที่
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๒๓ อธิบายอำานาจของ
ศาลปกครองไว้ ดังนี้
v ศาลปกครองมีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงาน
ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือ
เจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน
อันเนื่องมาจากการใช้อำานาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือเนื่องมาจากการดำาเนิน
กิจการทางปกครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย
บัญญัติ
v รวมทั้งมีอำานาจพิจารณาพิพากษาเรื่องที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ใน
อำานาจของศาลปกครอง
v อำานาจศาลปกครองตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ซึ่งเป็นการใช้อำานาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญขององค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น
v ให้มีศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น และจะมีศาลปกครองชั้นอุทธรณ์ด้วย
ก็ได้
v ตุลาการศาลปกครองในชั้นศาลใดจะมีจำานวนเท่าใด ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ
ตุลาการศาลปกครองกำาหนด