Page 51 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 51
คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 49
ผู้เสียหายที่เป็นแรงงานข้ามชาติ นับว่าเป็นกรณีตัวอย่างของการเข้าถึงความยุติธรรม (Access to
Justice) เป็นหลักการสำาคัญตามรัฐธรรมนูญและหลักการสากล ในคดีนี้ หน่วยงานใน
กระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ชั้นพนักงานตำารวจปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัดในการดำาเนินการบันทึก
ประจำาวัน ตลอดจนเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ซึ่งรวมทั้งประจักษ์พยานมาให้ปากคำา
ซึ่งทำาให้ผู้เสียหายที่เป็นกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำางานในประเทศไทยมีพยานหลักฐานและ
ข้อเท็จจริงเพียงพอในการดำาเนินการเรียกร้องความเป็นธรรมต่อศาลไทย และเป็นการยืนยันว่าบุคคล
ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือแรงงานข้ามชาติทุกคนที่อยู่ในผืนแผ่นดินไทย ย่อมได้รับการปกป้องและ
คุ้มครองตามกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน
๒. องค์กรต�มรัฐธรรมนูญ
๒.๑
ผู้ตรวจก�รแผ่นดิน
คือ “องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ” ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ ได้กล่าวใน มาตรา ๒๔๓ ว่า
H ผู้ตรวจการแผ่นดินมีจำานวนสามคน
H พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำาแนะนำาของวุฒิสภา
H เป็นผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชน มีความรอบรู้และมีประสบการณ์ในการบริหาร
ราชการแผ่นดิน วิสาหกิจ หรือกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสาธารณะ และมี
ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
อำ�น�จหน้�ที่
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่ได้กำาหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน
มีอำานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้