Page 39 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 39

คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 37







                            (๕) การวินิจฉัยปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับอำานาหน้าที่ระหว่างรัฐสภาพ คณะรัฐมนตรี หรือ

                     องค์กรตามรัฐธรรมนุญที่มิใช่ศาลตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป

                            (๖)  การวินิจฉัยมติหรือข้อบังคับของพรรมการเมือง การพิจารณาอุทธรณ์ของสมาชิกสภา
                     ผู้แทนราษฎรและการวินิจฉัยกรณีบุคคลหรือพรรคการเมืองใช้สิทธิและเสรีภาพในทางการเมืองโดย
                     มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

                            (๗) การวินิจฉัยสมาชิกภาพหรือคุณสมบัติของสมาชิกรัฐสภา รัฐมนตรี และกรรมการ

                     การเลือกตั้ง

                            (๘) การวินิจฉัยหนังสือสนธิสัญญาใดต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนหรือไม่

                            (๙) อำานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๕๐



                            การปฏิบัติหน้าที่ของของศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ ของรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ศาล

                     รัฐธรรมนูญมีอำานาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำา
                     ตลอดจนขอให้พนักงานสอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วน

                     ท้องถิ่น ดำาเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาได้ ส่วนมาตรา ๒๑๖ ได้ให้บรรทัดฐานการวินิฉัย
                     คดีรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้

                            -  องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการนั่งพิจารณาและในการทำาคำาวินิจฉัย

                     ต้องประกอบด้วย ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่าห้าคน คำาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ถือเสียง
                     ข้างมาก เว้นแต่จะมีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้

                            -  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนจะต้องทำาความเห็นในการวินิจฉัยในส่วน
                     ของตนพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ

                            -  คำาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและความเห็นในการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

                     ทุกคน ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

                            -  คำาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอย่างน้อยต้องประกอบด้วยความเป็นมาหรือคำากล่าวหา
                     สรุปข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการพิจารณา เหตุผลในการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

                     และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิง

                            -  คำาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล
                     และองค์กรอื่นของรัฐ

                            -  วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า
                     ด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44