Page 174 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 174
172 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ในประเทศไทย พระราชกำาหนดว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
ได้บังคับใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อเท็จจริงนี้ได้นำาเสนอไปที่
คณะกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติทุกรูปแบบ (CERD) ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕
คณะกรรมการได้ให้ข้อเสนอแนะกับรัฐบาลไทยในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งในช่วงเวลานั้น รัฐบาลได้ประกาศต่ออายุ
การบังคับใช้พระราชกำาหนดดังกล่าว มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและศูนย์ทนายความมุสลิมได้จัดทำา
จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี สององค์กรนี้ได้ทำางานส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมในพื้นที่
จังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างยาวนาน และจดหมายเปิดผนึกนี้ก็ถือเป็นการส่งสัญญาณถึง
ข้อกังวลด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงส่งข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ CERD สู่นายกรัฐมนตรี
เพื่อให้ทบทวนการต่ออายุการบังคับกฎหมายดังกล่าว โดยมีเนื้อหาว่า
“ สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี
นับแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘ และมีการประกาศขยายระยะเวลาประกาศฯในพื้นที่ดังกล่าว ยกเว้น
อำาเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ที่ประกาศยกเลิกในปีพ.ศ. ๒๕๕๔ จนถึงปัจจุบันต่อเนื่องกันเป็นจำานวน
๓๐ ครั้ง โดยประกาศฯ ครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๕ เพื่อความจำาเป็นต้องใช้มาตรการใน
การป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและดูแลความ
ปลอดภัยของประชาชนต่อไป ซึ่งประกาศดังกล่าวจะครบกำาหนดในวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๕ นี้
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชนที่
ได้ดำาเนินโครงการส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่าง
ต่อเนื่องมากว่า ๕ ปี โดยให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายแก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการ
บังคับใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงในพื้นที่ อันได้แก่ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ และ
พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้น ซึ่งได้พบปัญหาที่เกิด
จากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้หลายประการ
และมีความเห็นว่า รัฐบาลควรมีการพิจารณาทบทวนนโยบายการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความ
ร้ายแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างจริงจัง เพื่อนำาไปสู่การแก้ไขปัญหาความไม่สงบได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันสอดคล้องกับข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริม
หลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย
ยุทธศาสตร์ด้านการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ได้เสนอให้มีการพิจารณายกเลิกกฎหมาย
ความมั่นคง เช่น ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ และใช้มาตรการอื่นที่มีประสิทธิภาพแทน