Page 175 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 175

คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 173














                                และเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕  คณะกรรมการด้านสิทธิเด็กแห่งองค์การสหประชาชาติ ได้มี

                        ข้อแนะนำาถึงประเทศไทยเรื่องการบังคับใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
                        กับเด็กและเยาวชน ว่าไม่ควรใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงกับเด็กหรือเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                        การจับกุมและควบคุมตัว และเห็นว่าควรใช้กระบวนการยุติธรรมสำาหรับเด็กทุกสถานการณ์

                                อีกทั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ในรายงานข้อสังเกตเชิงสรุปของคณะกรรมการ

                        ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบของการประชุมทบทวนรายงานของประเทศ
                        สมาชิกครั้งที่ ๘๑ ระหว่างวันที่ ๖ - ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่กรุงเจนีวา รายงานข้อสังเกตเชิงสรุปต่อ
                        ประเทศไทยระบุว่า “แม้ว่ารัฐภาคีจะนำามาตรการต่างๆ มาใช้ อย่างเช่น การเผยแพร่คู่มือสิทธิมนุษยชน

                        และการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในบางพื้นที่ คณะกรรมการยังกังวลอย่างยิ่งต่อการเลือกปฏิบัติ
                        อันเป็นผลมาจากการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ รวมทั้งรายงานว่ามีการตรวจ
                        ลักษณะทางชาติพันธุ์และจับกุมบุคคลโดยอาศัยการคัดกรองจากลักษณะทางชาติพันธุ์ (racial

                        profiling) รวมทั้งรายงานว่ามีการซ้อมทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย ซึ่งเกิดขึ้นกับคนไทยเชื้อสาย
                        มลายู  คณะกรรมการฯ กังวลต่อไปถึงความเสี่ยงของการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง อันเป็นผลมาจาก
                        การบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้ รวมทั้งการขาดกลไกกำากับดูแลในการปฏิบัติ นอกจากการเยียวยาผู้ได้รับ

                        ผลกระทบจากความรุนแรงในการปราบปรามการก่อความไม่สงบแล้ว”  คณะกรรมการฯ จึงได้เรียกร้อง
                        ให้รัฐ (ก) ประเมินความจำาเป็นของกฎหมายพิเศษและกำาหนดให้มีกลไกอิสระที่กำากับดูแลการบังคับ

                        ใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง  (ข) ทบทวนกฎหมายพิเศษโดยมีเจตจำานงเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐาน
                        สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกฎบัตรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการซ้อมทรมาน และ
                        (ค) ให้สอบสวนข้อกล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มที่ และให้นำาตัวผู้กระทำาความผิดมา

                        ลงโทษด้วย

                                แม้ว่าการเยียวยาจะเป็นการชดเชยความเสียหายอันเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ
                        นับแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ อาจเป็นแนวทางที่เพิ่มความเชื่อมั่นต่อความจริงจังของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา
                        ได้ระดับหนึ่ง และขอชื่นชมการลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาสเพื่อรับฟังความเห็นจากหน่วยปฏิบัติในพื้นที่

                        ของท่านนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๕ กันยายนที่ผ่านมา อันจะมีข้อมูลในการพิจารณาการประกาศขยาย
                        ระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงในเดือนกันยายนนี้ต่อไปอีก ๓ เดือน ทั้งนี้ มูลนิธิ
                        ผสานวัฒนธรรม และมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เห็นว่า รัฐบาลควรยกเลิกการประกาศสถานการณ์

                        ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมดหรือบางอำาเภอที่มีสถิติเหตุการณ์
                        ความไม่สงบลดลง  ดังเหตุผลต่อไปนี้
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180