Page 171 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 171

คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 169









                        ๑. ๑๖.  สิทธิในก�รได้รับก�รเยียวย�อย่�งมีประสิทธิผล
                                คณะกรรม�ธิก�รระหว่�งรัฐบ�ลอ�เซียนว่�ด้วยสิทธิมนุษยชน
                                (Right to an effective remedy)
                                (ASEAN Inter-Governmental Commission on Human Rights -AICHR)



                            การละเมิดสิทธิในการเยียวยาอย่างมีประสิทธิผลปรากฏขึ้นเมื่อใดก็ตามที่รัฐล้มเหลวในการ

                     ปฏิบัติตามพันธกรณีที่ต้องเคารพกฎหมายสิทธิมนุษยชนและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
                     รวมทั้งในการกระทำาหน้าที่ของรัฐในการ

                            v  กำาหนดมาตรการทางนิติบัญญัติ ทางการบริหาร และมาตรการอื่นๆ ที่เหมาะสมในการ

                                ป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิ
                            v  สอบสวนการละเมิดสิทธิอย่างมีประสิทธิผล โดยพลัน โดยถี่ถ้วน และโดยไม่เอนเอียง

                                เข้าข้างฝ่ายใด และดำาเนินการอย่างเหมาะสมต่อผู้ที่อ้างได้ว่าเป็นหน้าที่ต้องรับผิดชอบ
                                ตามกฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ

                            v  ดำาเนินการให้มีการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมและมีประสิทธิผลแก่
                                บุคคลใดก็ตามที่เรียกร้องสิทธิของตน ในฐานะของผู้ถูกละเมิดสิทธิตามกฎหมายสิทธิ

                                มนุษยชนและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
                            v  ดำาเนินการเยียวยาความเสียหายแก่ผู้ถูกละเมิดสิทธิอย่างมีประสิทธิผล รวมถึงให้เงิน

                                ชดเชยความเสียหายด้วย

                            ในประเทศไทย ศาลได้ตัดสินชี้ขาดให้ชดเชยให้กับเหยื่อจากการซ้อมทรมานและการคุมขัง
                     โดยมิชอบตามกฎหมาย ความรับผิดชอบต่อการกระทำาการละเมิดส่วนใหญ่มักไม่ถูกนำาเข้าสู่

                     กระบวนการทางศาล แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีการฟ้องร้องทางอาญากับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำาการ
                     ละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้น

                            v  ไม่มีเจ้าหน้าที่หรือสถาบันถูกตรวจสอบจากการตายกรณีตากใบ ที่เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต

                                ๗๘ คน
                            v  ไม่มีเจ้าหน้าที่หรือสถาบันถูกตรวจสอบจากกรณีมัสยิดกรือเซะ
                            v  ไม่มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบต่อกรณีการซ้อมทรมาน การตายในระหว่างการควบคุมตัวของ

                                เจ้าหน้าที่ การหายสาบสูญ การวิสามัญฆาตกรรม หรือการจับกุมคุมขังโดยพลการที่

                                เกิดขึ้นตั้งแต่ ปีพ.ศ. ๒๕๔๗
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176