Page 134 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 134
132 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
๙. สิทธิในเสรีภ�พในก�รรวมกลุ่ม (Right to freedom of association)
บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพในการรวมกลุ่มที่รวมถึงการจัดตั้งและร่วมในสหภาพแรงงาน
สิทธินี้หมายรวมถึงสิทธิในการก่อตั้งหรือเข้าร่วมในสหภาพแรงงาน การละเมิดสิทธิปรากฏขึ้น
เมื่อมีการจำากัดสิทธิเกิดขึ้น และการจำากัดที่ว่านั้น เกิดขึ้นเมื่อ
v ไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองไว้ และ
v ไม่สามารถหาเหตุผลสนับสนุนได้ว่าเป็นเรื่องจำาเป็นในสังคมประชาธิปไตยที่จะต้อง
กระทำาเพื่อคุ้มครอง
b สิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น หรือ
b เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของชาติ การคุ้มครองความปลอดภัยประชาชน
ในด้านการสาธารณสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
สิทธิที่จะจัดตั้งและเข้�ร่วมสหภ�พแรงง�นในประเทศไทย
๓๙
ด้านล่างเป็นข้อความบางส่วน จากรายงานของ Solidarity Center ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้
ความช่วยเหลือขบวนการแรงงานทั่วโลก โดยการส่งเสริมพลังด้านเศรษฐกิจและการเมืองของคนงาน
ผ่านการจัดตั้งสหภาพแรงงานที่เป็นผล เป็นอิสระ และเป็นประชาธิปไตย
…แม้มีข้อกำาหนดสำาคัญในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่คุ้มครองสิทธิในการจัดตั้งและเจรจา
สภาพการจ้างงาน รัฐบาลกลับไม่รับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานโลกฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘
(International Labor Conventions 87 and 98) ซึ่งครอบคลุมสิทธิเหล่านี้ และกฎหมาย
แรงงานที่มีอยู่ก็ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานหลักด้านแรงงานขององค์การแรงงานโลก ส่งผลให้
มีเพียงร้อยละ ๒ ของคนงานเกือบ ๔๐ ล้านคนในประเทศไทยที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน …
… ตามกฎหมายแรงงานไทย คนงานในภาคเอกชนมีสิทธิที่จะจัดตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน
แต่ก็มีข้อกำาหนดเกี่ยวกับสมาชิกภาพและคุณสมบัติที่เป็นอุปสรรคขัดขวางสิทธิดังกล่าว
ยกตัวอย่างเช่น สมาชิกของสหภาพแรงงานแห่งใดแห่งหนึ่งต้องทำางานให้กับนายจ้าง
คนเดียวกัน ดังนั้น กรณีที่มีการไล่คนงานออก จะทำาให้คนงานสูญเสียสมาชิกภาพใน
สหภาพแรงงานไปด้วย อีกข้อกำาหนดหนึ่งกีดกันไม่ให้คนงานข้ามชาติจัดตั้งสหภาพของตนเอง
และไม่สามารถดำารงตำาแหน่งเป็นกรรมการสหภาพได้...
แม้จะมีข้อห้ามต่อการเลือกปฏิบัติที่ขัดขวางการดำาเนินงานของสหภาพแรงงาน แต่นายจ้าง
มักจะปลดคนงานที่พยายามจัดตั้งสหภาพแรงงาน โดยมักอ้างว่าการปลดคนงานไม่มีเหตุผล
เกี่ยวข้องกับสหภาพแรงงาน
๓๙ http://www.solidaritycenter.org/content.asp?contentid=902