Page 136 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 136
134 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
๑. ๑๐. สิทธิในเสรีภ�พท�งคว�มคิด มโนธรรม และศ�สน�
คณะกรรม�ธิก�รระหว่�งรัฐบ�ลอ�เซียนว่�ด้วยสิทธิมนุษยชน
(Right to freedom of thought, conscience and religion)
(ASEAN Inter-Governmental Commission on Human Rights -AICHR)
ทุกคนมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพในความคิด มโนธรรม และศาสนา ซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการนับถือ
ศาสนาหรือความเชื่อที่ตนเองเลือก และสิทธิที่จะตัดสินใจไม่นับถือศาสนาใดๆ เลย
สิทธินี้หมายรวมถึง สิทธิในการถือหรือปฏิบัติตามศาสนา หรือตามความเชื่อตามคตินิยม
ของตนโดยอิสระ รวมถึง การตัดสินใจที่จะไม่ปฏิบัติตามศาสนา การละเมิดสิทธิปรากฏขึ้นเมื่อมีการ
จำากัดสิทธินี้เกิดขึ้น และการจำากัดเช่นที่ว่านั้น
v ไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองไว้ และ
v ไม่สามารถหาเหตุผลสนับสนุนได้ว่าจำาเป็นที่จะต้องกระทำาเพื่อคุ้มครอง
b ประชาชนด้วยความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข
b หรือศีลธรรมอันดี หรือสิทธิขั้นพื้นฐาน และเสรีภาพของบุคคลอื่นๆ
เสรีภาพในการปฏิบัติตนตามศาสนาหรือความเชื่อ ด้วยการบูชา ปฏิบัติตามคำาสอนและ
การสอนคำาสอน ครอบคลุมถึงการกระทำามากมายหลายอย่าง คำาว่า บูชา อาจหมายรวมถึงพิธีกรรม
หรือพิธีการที่แสดงออกถึงความเชื่อนั้นโดยตรง และการปฏิบัติต่างๆ ที่รวมอยู่ในการกระทำานั้น ไม่ว่า
จะเป็นการสร้างสถานที่เพื่อการบูชา การใช้พิธีกรรมและวัตถุ การแสดงสัญลักษณ์ต่างๆ รวมถึงการ
ปฏิบัติตามวันหยุดทางศาสนา การปฏิบัติหรือการฝึกฝนทางศาสนาและความเชื่อไม่เพียงแต่รวมถึง
การกระทำาเกี่ยวกับพิธีกรรมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงธรรมเนียมนิยมต่างๆ เช่น ข้อบังคับเกี่ยวกับอาหาร
ที่รับประทาน การสวมเสื้อผ้าชนิดพิเศษหรือผ้าคลุมศีรษะ และการใช้ภาษาที่เฉพาะเจาะจงสำาหรับ
พูดคุยกันตามธรรมเนียมภายในกลุ่ม
นอกจากนี้ การปฏิบัติหรือการฝึกฝนศาสนาและความเชื่อยังรวมถึงการกระทำาต่างๆ โดยกลุ่ม
บุคคลทางศาสนาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบกิจกรรมพื้นฐานของศาสนานั้น เช่น เสรีภาพในการ
เลือกผู้นำาทางศาสนา พระสงฆ์ และครูผู้สอนคำาสอน เสรีภาพในการก่อตั้งโรงเรียนสอนศาสนา และ
เสรีภาพในการจัดทำาและเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับศาสนา
อย่างไรก็ตาม เสรีภาพในการปฏิบัติหรือฝึกฝนทางศาสนาไม่ควรรวมถึงการโฆษณาชวนเชื่อ
เพื่อให้เกิดสงครามหรือส่งเสริมให้เกิดความเกลียดชังทางประเทศชาติเชื้อชาติ ศาสนา ที่ถือเป็นการ
ยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ ความประสงค์ร้ายและความรุนแรง ภาครัฐมีหน้าที่ในการออกกฎหมาย
ห้ามมิให้กระทำาการต่างๆ เหล่านี้
อาจมีการจำากัดเสรีภาพในการนับถือหรือปฏิบัติตนตามศาสนาหรือความเชื่อเพื่อ
วัตถุประสงค์ในการปกป้องศีลธรรมในสังคม คำาว่า ศีลธรรม นั้นมีรากฐานมาจากจารีตทางสังคม