Page 137 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 137

คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 135







                     ปรัชญา และศาสนาที่หลากหลาย  ดังนั้น การจำากัดเพื่อวัตถุประสงค์ในการปกป้องศีลธรรมนั้นจะต้อง

                     อยู่บนหลักการที่ไม่ได้ทำาตามจารีตของศาสนาใดศาสนาหนึ่งเพียงอย่างเดียว

                            การที่ศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นศาสนาประจำาชาติหรือคนส่วนใหญ่ในประเทศนับถือศาสนา
                     นั้นไม่ควรส่งผลให้สิทธิมนุษยชนอื่นๆ เสื่อมหรือเสียหาย และไม่ควรมีการกีดกันแบ่งแยกหรือเลือก
                     ปฏิบัติต่อผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆ หรือผู้ที่ไม่นับถือศาสนาใดๆ




                     ข้อกังวลเกี่ยวกับเสรีภ�พด้�นศ�สน�ในประเทศไทย

                            ต่อไปนี้เป็นข้อความบางส่วนจากรายงานกรณีประเทศไทย จากรายงาน “เสรีภาพในโลก
                                                                                ๔๐
                     ประจำาปี ๒๕๕๖” (Freedom in the World, 2013, Thailand Report)

                            รัฐธรรมนูญกำาหนดอย่างชัดเจน ห้ามการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลความเชื่อทางศาสนา

                            อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีการกำาหนดศาสนาประจำาชาติ แต่รัฐธรรมนูญกำาหนดให้พระมหา
                            กษัตริย์ต้องเป็นพุทธมามกะ และมีข้อห้ามตามกฎหมายไม่ให้ดูหมิ่นพุทธศาสนา ความขัดแย้ง

                            ในภาคใต้ซึ่งทำาให้เกิดความแตกแยกระหว่างชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูกับชาวไทยพุทธ ยังคง
                            ส่งผลกระทบต่อความสามารถของพลเมืองที่จะปฏิบัติตามศาสนาของตน พระภิกษุ

                            ให้ข้อมูลว่าไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างเสรีเพื่อรับบิณฑบาตรในภาคใต้ และ
                            ครูชาวไทยพุทธหลายคนได้ถูกทำาร้ายโดยผู้ก่อความไม่สงบ ในเวลาเดียวกัน มีการกล่าวหาว่า

                            ผู้นำาศาสนาอิสลามก็ตกเป็นเป้าการทำาร้ายของเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของรัฐบาล


































                     ๔๐  http://www.freedomhouse.org/report/freedom-world/2013/thailand
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142