Page 110 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 110
108 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ทัศนคติที่อาจส่งผลต่อการสร้างความไม่เป็นธรรมได้ และไม่ใช้ความรุนแรง ผู้ถูกคุมขัง
ต้องได้รับการแจ้งสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิในการพบญาติและทนาย นอกจากนี้การจัดห้อง
สืบสวน กฎระเบียบต่างๆ ต้องมีการวางไว้ให้ชัดเจน
๔. หน่วยงานความมั่นคง (กองทัพ) และสำานักงานตำารวจแห่งชาติต้องดูแลผู้ต้องหา
ขณะที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ เมื่อผู้ต้องหาเข้าสู่กระบวนการสอบสวน
เขาต้องได้รับการดูแลและการปกป้องความปลอดภัยจากการทำาร้ายทั้งในชีวิตและ
ทรัพย์สิน ทั้งจากตัวเองและผู้อื่น ด้วยวิธีการต่างๆ
๕. กระทรวงยุติธรรมและสำานักงานตำารวจแห่งชาติต้องจัดทำาแนวทางการควบคุมการ
สืบสวนสอบสวนผู้ต้องหา กระบวนการสืบสวนสอบสวนต้องดำาเนินการโดยเจ้าหน้าที่
ที่เกี่ยวข้องและมีความชำานาญเป็นพิเศษ นอกจากนี้ กระบวนการดังกล่าวต้องยึดถือ
หลักการการสืบค้นข้อเท็จจริง และเป็นไปตามหลักประกันสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
๖. เมื่อใดที่ผู้ต้องหารับในหมายเรียกตากพระราชบัญญัติสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้รับการ
พิสูจน์แล้วว่าบริสุทธิ์ สำานักงานตำารวจแห่งชาติต้องลบชื่อออกจากฐานระบบข้อมูลด้าน
การออกหมายเรียก
หลักเกณฑ์ก�รพิจ�รณ�กระบวนก�รยุติธรรม
๗. หน่วยงานความมั่นคง (กองทัพ) และสำานักงานตำารวจแห่งชาติ เมื่อได้รับข้อร้องเรียน
เกี่ยวกับการทรมานที่กระทำาโดยเจ้าหน้าที่ ต้องดำาเนินการโดยทันทีอย่างเป็นธรรม
และโปร่งใส ดำาเนินการสืบสวนสอบสวนและทำาการลงโทษอย่างจริงจัง โดยใช้หลัก
สหวิทยาการและหลักทางอาญา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำาความผิดไม่มี
ข้อยกเว้นในการรับโทษ การทรมานเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเคร่งครัดในทุกสถานการณ์
๘. กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพต้องกำาหนดหลักเกณฑ์ในการปกป้องพยาน เหยื่อ ญาติ
ของเหยื่อ ผู้ที่ร้องเรียนจากการข่มขู่ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และขจัดอุปสรรค
ต่างๆ ที่ขัดขวางเหยื่อ หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการซ้อมทรมานจากการเข้าถึง
ความยุติธรรม และการเยียวยา ตามหลักการในอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการ
ประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำายีศักดิ์ศรีหรือพิธีสารเลือกรับ
และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
๙. หน่วยงานความมั่นคง (กองทัพ) และสำานักงานตำารวจแห่งชาติ ควรจัดเตรียมหลัก
ประกันตามสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถูกจับ ผู้ถูกคุมขัง หรือ อยู่ระหว่างการควบคุมตัว เช่น
สิทธิในการรับทราบข้อกล่าวหา สิทธิในการแจ้งให้ญาติของผู้ถูกจับกุมทราบ สิทธิในการ
ได้รับการเยี่ยมจากญาติและทนายความ
๑๐. เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและปกป้องการเกิดการทรมาน กองอำานวยการรักษาความ
มั่นคงภายในราชอาณาจักร ควรเสนอต่อเจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมเพื่อนำาผู้ต้องหาตาม
พระราชกฤษฎีกาฉุกเฉิน (พรก. ฉุกเฉิน) รายงานตัวต่อศาลทุกครั้ง หากมีความจำาเป็น