Page 32 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 32
๓.๔.๓) ผู้อยู่ในข่ายกระทำาความผิดฐานทรมาน เช่น
ผู้บัญชาการทหาร ตำารวจ ผู้บังคับใช้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ของรัฐระดับ
อาวุโสที่มีอำานาจสั่งการ ผู้บังคับบัญชาระดับต้น เจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นๆ
พนักงานและลูกจ้างของรัฐ และบทลงโทษความผิดฐานทรมาน ๒๒
๒๓
๓.๔.๔) การติดตามการปฏิบัติตามกฎหมาย
- ฟิลิปปินส์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำากับการปฏิบัติ
ตามกฎหมายนี้ (Oversight Committee) มีกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ ๑ คน เป็น ประธาน กรรมการ ประกอบด้วย ประธาน
คณะกรรมาธิการวุฒิสภาด้านความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ประธาน
คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรด้านความยุติธรรมและสิทธิ
มนุษยชน และผู้นำาฝ่ายค้านจากทั้งสองสภา หรือผู้แทนจากชนกลุ่มน้อย
ภายในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
- ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฟิลิปปินส์
กระทรวงยุติธรรม กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนองค์กรภาคีภาครัฐและภาคเอกชนให้
ความรู้และข่าวสารว่าด้วยการป้องกันการทรมาน
- ทบทวนกฎหมายอาญาให้สอดคล้องกับอนุสัญญา
ต่อต้านการทรมานฯ
๓.๕) ประเทศนิวซีแลนด์ (เข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๓๒) นิวซีแลนด์ได้อนุวัติกฎหมายโดยการบัญญัติกฎหมายเฉพาะ
ได้แก่ พระราชบัญญัติอาชญากรรมจากการทรมาน พ.ศ. ๒๕๓๒
๒๒ Republic Act no. 9745, Section 13-14
๒๓ Republic Act no. 9745, Section 20-22
30 การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย