Page 104 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 104
ประเทศไทยได้งดออกเสียงเป็นปีที่ ๒ ต่อมติพักการใช้โทษประหารชีวิตชั่วคราวในที่ประชุม
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเทียบกับการลงมติคัดค้าน
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ และปี พ.ศ. ๒๕๕๑ อันแสดงให้เห็นว่าแม้ประเทศไทยจะยังไม่เห็นด้วยกับการ
ยกเลิกโทษประหารชีวิต หากแต่ปัจจุบันมีแนวโน้มที่ดีที่ประเทศไทยไม่ได้มีการคัดค้านต่อการพักการใช้
โทษประหารชีวิตชั่วคราว
จากข้อกำาหนดของกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้มีข้อกำาหนดที่เกี่ยวข้องกับการยกเลิก
โทษประหารชีวิตดังกล่าวข้างต้น ได้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของการยกเลิกโทษประหารชีวิต
ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำาคัญเพื่อเป็นการมุ่งเน้นเคารพสิทธิและเสรีภาพ
ในชีวิตของมนุษย์เป็นสำาคัญ ซึ่งปัจจัยด้านกฎหมายระหว่างประเทศดังกล่าวข้างต้นเป็นปัจจัย
ที่สำาคัญประการหนึ่งที่ทำาให้ประเทศไทยอาจต้องมีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต เพื่อเป็นการ
แสดงออกถึงการให้ความสำาคัญต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศเป็นสำาคัญ
จากข้อมูลที่กล่าวมาเบื้องต้นแสดงถึงอิทธิพลของสังคมโลกต่อประเทศไทยในบทบาท
ทางด้านสิทธิมนุษยชนได้อย่างดียิ่ง และยังเป็นการสะท้อนถึงภาวะความตื่นตัวของประเทศไทย
ในการปรับตัวและเรียนรู้มิติทางด้านสิทธิมนุษยชนจากต่างประเทศเช่นเดียวกัน การลงนามใน
สนธิสัญญาต่าง ๆ จึงเป็นการพัฒนาพื้นฐานหลักการทางด้านสิทธิมนุษยชนให้มีความเป็นอารยะ
และได้รับการยอมรับจากนานาประเทศว่าประเทศไทยให้ความสำาคัญต่อมิติทางด้านสิทธิและศักดิ์ศรี
ของมนุษย์
อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นประเทศไทยได้สั่งให้มีการประหารนักโทษยาเสพติด
๒ ราย ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในการละเมิดสิทธิในชีวิตโดยการทำาการสังหารประชาชน
ในประเทศของตนเองขึ้น ประเทศไทยจึงถูกจับตามองว่าเป็นประเทศที่ไร้มนุษยธรรม นอกจากนี้
ในรายงานการทบทวนสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย (UPR) โดยสหประชาชาติ
ประเทศไทยได้รับข้อเรียกร้องจากนานาชาติให้ดำาเนินการยกเลิกการลงโทษประหารชีวิต และตั้ง
ข้อกังขาต่อรัฐบาลในการบังคับใช้และคงไว้ซึ่งโทษประหารชีวิตในสังคมไทยเป็นอย่างมาก
ต่อสถานการณ์เช่นนี้ ซึ่งรัฐบาลไทยไม่ควรจะเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องดังกล่าวของสังคมโลก
เฉกเช่นในอดีตได้อีกต่อไป การคงไว้ซึ่งโทษประหารชีวิตเป็นเพียงการคงไว้ซึ่งมาตรการและวิธีการ
ซึ่งแสดงถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน และทำาให้เกิดผลกระทบต่อสถานะทางด้านสิทธิมนุษยชน
ของประเทศไทย
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญนั้นต้องการให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เป็นองค์กรอิสระและเป็นกลไกที่จะพิจารณาว่า กฎหมายหรือการกระทำาใดไม่ว่าจะของรัฐ
หรือของปัจเจกบุคคลที่อาจก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม
ไม่เสมอภาคต่อประชาชน เพราะคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มิได้เป็นเพียงองค์กรที่เสนอความคิดเห็นประกอบ
การดำาเนินงานของภาครัฐเท่านั้น แต่จักเป็นผู้วางมาตรฐานเบื้องต้นในการกำาหนดคุณค่า
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 91