Page 77 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 77

โดยมีข้อมูลการประหารชีวิตในปี  พ.ศ.  ๒๕๕๕  เกิดขึ้นอย่างน้อย  ๖๘๒  ครั้งทั่วโลก
                  ซึ่งการประหารชีวิตในปี  พ.ศ.  ๒๕๕๕  มีจำานวนมากกว่าการประหารชีวิตในปี  พ.ศ.  ๒๕๕๔

                  จำานวน ๒ ครั้ง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเหล่านี้ไม่รวมถึงการประหารชีวิตจำานวนหลายพันคนที่คาดว่า

                  เกิดขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีน  เนื่องจากทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีนถือว่าข้อมูล
                  เกี่ยวกับการใช้โทษประหารเป็นความลับของรัฐ  จึงไม่มีข้อมูลที่เผยแพร่เกี่ยวกับจำานวนผู้ถูก
                  ประหารชีวิต  โดยแอมเนสตี้  อินเตอร์เนชั่นแนล  ได้เรียกร้องอีกครั้งเพื่อให้ทางการจีน

                  เผยแพร่ตัวเลขจำานวนผู้ต้องโทษประหารและผู้ที่ถูกประหารชีวิตในแต่ละปี ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนข้ออ้าง

                  ของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ระบุว่าการใช้โทษประหารได้ลดลงอย่างมากนับแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐


                           ประเทศที่ยกเลิกโทษประห�รชีวิต และประเทศที่ยังคงบทลงโทษประห�รชีวิต ณ วันที่

                  ๓๑ ธันว�คม ๒๕๕๕

                           ปัจจุบันนี้พบว่า ประเทศมากกว่าสองในสามของประเทศต่าง ๆ ในโลกได้ยกเลิกโทษประหาร
                  ในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติ ดังจะเห็นได้จากข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ ปรากฏดังนี้
                            • ๙๗ ประเทศ ยกเลิกโทษประหารสำาหรับความผิดทางอาญาทุกประเภท

                            • ๘ ประเทศ ยกเลิกโทษประหารสำาหรับความผิดทางอาญาทั่วไปเท่านั้น

                            • ๓๕ ประเทศ ยกเลิกโทษประหารในทางปฏิบัติ
                            • ๑๔๐ ประเทศ ยกเลิกโทษประหารในทางกฎหมายและทางปฏิบัติ
                            • ๕๘ ประเทศ ยังคงบทลงโทษประหาร

                           สำาหรับรายชื่อประเทศที่แบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม ดังนี้

                           กลุ่มที่ ๑  ประเทศที่ยกเลิกโทษประห�รสำ�หรับคว�มผิดท�งอ�ญ�ทุกประเภท
                                    ประเทศที่ไม่มีกฎหมายให้ลงโทษประหารชีวิตสำาหรับอาชญากรรมใด ๆ ได้แก่
                  แอลเบเนีย อันดอร์รา แองโกลา อาร์เจนตินา อาร์เมเนีย ออสเตรเลีย อาร์เซอร์ไบจาน เบลเยียม

                  ภูฏาน บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บัลแกเรีย บุรุนดี กัมพูชา แคนาดา เคปเวิร์ด โคลอมเบีย หมู่เกาะคุก

                  คอสตาริกา โกตดิวัวร์ โครเอเชีย ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก จิบูตี สาธารณรัฐโดมินิกัน
                  เอกวาดอร์  เอสโตเนีย  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  จอร์เจีย  เยอรมนี  กรีซ  กินีบิสเซา  เฮติ
                  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  ไอร์แลนด์  อิตาลี  คิริบาตี  คีร์กีซสถาน  ลัตเวีย

                  ลิกเตนสไตน์ ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มาซิโดเนีย มอลตา หมู่เกาะมาร์แชลล์ มอริเชียส เม็กซิโก

                  ไมโครนีเซีย มอลโดวา โมนาโก มอนเตเนโกร โมซัมบิก นามิเบีย เนปาล เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์
                  นิการากัว นีอูเอ นอร์เวย์ ปาเลา ปานามา ปารากวัย ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย
                  รวันดา  ซามัว  ซานมารีโน  เซาตูเมและปรินซิปี  เซเนกัล  เซอร์เบีย  (รวมทั้งโคโซโว)  เซเชลส์

                  สโลวะเกีย หมู่เกาะโซโลมอน แอฟริกาใต้ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ติมอร์-เลสเต โตโก ตุรกี

                  เติร์กเมนิสถาน ตูวาลู ยูเครน สหราชอาณาจักร อุรุกวัย อุซเบกิสถาน วานูอาตู เวเนซุเอลา








         64    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82