Page 72 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 72

-  และจำานวนผู้ต้องโทษประหารจนถึงปัจจุบันได้ลดลงจาก  ๑,๙๒๓  คน
                                           (ใน ๖๓ ประเทศ) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เปรียบเทียบกับ ๑,๗๒๒ คน

                                           (ใน ๕๘ ประเทศ) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕

                                        จากสถิติการประหารชีวิตของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้สะท้อน
                     ให้เห็นว่า แนวโน้มของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกยังคงมุ่งสู่การยกเลิกโทษประหารเป็นสำาคัญ ดังจะเห็น
                     ได้จากการเก็บข้อมูลของแอมเนสตี้  อินเตอร์เนชั่นแนล  ต่อการประหารชีวิตใน  ๒๑  ประเทศ

                     จำานวนการประหารชีวิตที่ยืนยันได้อยู่ที่ ๖๘๒ ครั้ง ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับตัวเลข ๖๘๐ ครั้ง ในปี พ.ศ.

                     ๒๕๕๔ ใน ๒๑ ประเทศเช่นกัน แม้ว่าตัวเลข ๖๘๒ ครั้งยังไม่รวมการประหารชีวิตหลายพันครั้ง
                     ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งถือว่ามากกว่าจำานวนการประหารชีวิตของทั้งโลก รวมกัน สามในสี่
                     ของการประหารชีวิตที่ยืนยันได้เกิดขึ้นในสามประเทศเท่านั้น ได้แก่ อิหร่าน อิรัก และซาอุดิอาระเบีย

                                        นอกจากนี้  มีข้อมูลความก้าวหน้าของการยกเลิกโทษประหารชีวิตในทุก

                     ภูมิภาคของโลก  พบว่า  แม้ว่าสหรัฐอเมริกาเป็นเพียงประเทศเดียวในทวีปอเมริกาที่ยังคงประหาร
                     ชีวิต  ในปี  พ.ศ.  ๒๕๕๕  หากแต่ได้เกิดขึ้นใน  ๙  มลรัฐเท่านั้น  เมื่อเปรียบเทียบกับ  ๑๓  มลรัฐ
                     ในปี  พ.ศ.  ๒๕๕๔  คอนเนตทิคัตเป็นรัฐลำาดับที่  ๑๗  ที่ยกเลิกโทษประหารเมื่อเดือนเมษายน

                     พ.ศ.  ๒๕๕๕  และในทุกประเทศของทวีปอเมริกาเหนือ  มีคำาตัดสินลงโทษประหารครั้งใหม่เพียง

                     ๑๒  ครั้ง  ความถดถอยในเอเชียใต้รวมถึงการรื้อฟื้นการประหารชีวิตในบางประเทศ  ขัดกับ
                     แนวโน้มของเอเชีย-แปซิฟิก  ที่มุ่งหน้าสู่การยกเลิกโทษประหาร  โดยในปี  พ.ศ.  ๒๕๕๕  ประเทศ
                     เวียดนามไม่มีการประหารชีวิต ส่วนประเทศสิงคโปร์ปฏิบัติตามข้อตกลงยุติการประหารชีวิตชั่วคราว

                     และอยู่ระหว่างการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับโทษประหารชีวิต

                                        รวมทั้งในทวีปแอฟริกาที่อยู่ตอนล่างของทะเลทรายสะฮาราลงมา  มีข้อมูล
                     ความก้าวหน้าของการยกเลิกโทษประหารเพิ่มเติม กล่าว คือ ประเทศเบนินดำาเนินการทางนิติบัญญัติ
                     เพื่อยกเลิกข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ส่วนประเทศกานามีแผนยกเลิกโทษประหารในรัฐธรรมนูญ

                     ฉบับใหม่  และไม่มีนักโทษประหารในประเทศเซียร์ราลีโอนอีกต่อไป  และได้มีกฎหมายเพื่อยกเลิก

                     โทษประหารชีวิตสำาหรับความผิดทางอาญาที่เหลืออยู่  มีผลบังคับใช้ในประเทศลัตเวีย  เมื่อวันที่
                     ๑ มกราคม ๒๕๕๖ นับเป็นประเทศลำาดับที่ ๙๗ ของโลกที่ยกเลิกโทษประหารอย่างสิ้นเชิง



                             แนวโน้มระดับโลกที่มุ่งสู่ก�รยกเลิกโทษประห�ร ปี ๒๕๕๕

                             สำาหรับแนวโน้มระดับโลกที่มุ่งสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตใน พ.ศ. ๒๕๕๕ ปรากฏว่า
                              • สหรัฐอเมริกายังคงเป็นประเทศเดียวในทวีปอเมริกาที่มีการประหารชีวิต
                              • เบลารุสยังเป็นประเทศเดียวในยุโรปและเอเชียกลางที่มีการประหารชีวิต

                              • สหรัฐอเมริกา  และเบลารุสเป็นเพียงสองประเทศในรัฐภาคีขององค์การว่าด้วย

                                 ความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป  (Organization  for  Security  and
                                 Co-operation in Europe) ที่ยังมีการประหารชีวิต






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 59
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77