Page 74 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 74

เปรียบเทียบกับ ๑,๙๒๓ ครั้งใน ๖๓ ประเทศ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา แต่ตัวเลขเหล่านี้ยัง
                     ไม่รวมการประหารชีวิตอีกหลายพันครั้ง  ที่เชื่อว่าเกิดขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีน  ซึ่งมีการเก็บ

                     ตัวเลขเป็นความลับ

                             สำาหรับประเทศที่ประหารชีวิตบุคคลมากที่สุดในโลก  ๕  ประเทศ  ได้แก่  สาธารณรัฐ-
                     ประชาชนจีน อิหร่าน อิรัก ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอเมริกา และเยเมน และวิธีการประหารชีวิต
                     ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้แก่ การแขวนคอ การตัดศีรษะ การยิงเป้า และการฉีดยาพิษ โดยประเทศ

                     ซาอุดิอาระเบีย  มีการนำาศพของชายคนหนึ่งที่ถูกตัดศีรษะเพื่อประหารชีวิตไปประจาน  โดยถือว่า

                     เป็น “การตรึงกางเขนเพื่อให้ตายอย่างทรมาน” อย่างหนึ่ง
                             สำาหรับผู้ต้องโทษประหารชีวิต  ปรากฏว่า  มีผู้ที่ต้องโทษประหารเนื่องจากความผิด
                     ทางอาญาหลายประการ รวมทั้งความผิดที่ไม่ใช้ความรุนแรง อย่างเช่น ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

                     และด้านเศรษฐกิจ และยังมีผู้ที่ต้องโทษประหารเนื่องจาก “การละทิ้งศาสนาของตน (Apostasy)”

                     “การหมิ่นศาสนา” และ “การล่วงประเวณี” ซึ่งเป็นการกระทำาที่ไม่ควรถือเป็นอาชญากรรมด้วยซ้ำาไป


                             ประเทศที่มีการนำาโทษประหารชีวิตกลับมาใช้หลังจากที่ยุติการใช้โทษประหารชีวิตมาเป็น

                     ระยะเวลาหนึ่ง ได้แก่ อินเดีย ญี่ปุ่น และปากีสถาน ที่มีการรื้อฟื้นการประหารชีวิตมาใช้อีกครั้ง

                     หลังจากหยุดมาเป็นเวลานาน และเป็นช่วงที่ปลอดจากการประหารชีวิต โดยในเดือนพฤศจิกายน
                     ๒๕๕๕ ประเทศอินเดียมีการประหารชีวิตบุคคลเป็นครั้งแรกนับจาก พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยการแขวนคอ
                     นายอัชมาล  กาสับ  (Ajmal  Kasab)  มือปืนที่รอดมาได้จากเหตุการณ์ระเบิดที่กรุงมุมไบเมื่อ

                     พ.ศ. ๒๕๕๑

                             นอกจากนี้ ที่ประเทศญี่ปุ่น มีการประหารชีวิตนักโทษสามคนเมื่อเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. ๒๕๕๕
                     และอีก ๔ คน ในเวลาต่อมา หลังจากงดเว้นมาเป็นเวลา ๒๐ เดือน นอกจากนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีน
                     คาดว่ามีการประหารชีวิตบุคคลเป็นจำานวนรวมกันมากกว่าทุกประเทศที่เหลือในโลกรวมกัน

                     แต่สืบเนื่องจากการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โทษประหาร  ทำาให้ไม่สามารถได้ข้อมูลที่แสดงถึง

                     ภาพความจริงที่ชัดเจนเกี่ยวกับโทษประหารในสาธารณรัฐประชาชนจีน
                             อย่างไรก็ตาม  ประเทศเวียดนามไม่ประหารชีวิตบุคคลเลย  ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์
                     ยินยอมปฏิบัติตามความตกลงเพื่อยุติการใช้โทษประหารชั่วคราวและประเทศมองโกเลียได้ให้

                     สัตยาบันต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศที่สำาคัญซึ่งแสดงเจตจำานงของประเทศที่มุ่งสู่การยกเลิก

                     โทษประหาร
                             สำาหรับการประหารชีวิตในอนุภูมิภาคแปซิฟิก (Pacific Sub-Region) ยังคงเป็นภูมิภาคSub-Region) ยังคงเป็นภูมิภาคub-Region) ยังคงเป็นภูมิภาคเป็นภูมิภาค
                     ที่มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตเกือบหมด  แม้ว่าประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือจะมี

                     แนวโน้มในการยกเลิกโทษประหารชีวิตมากขึ้น  แต่ยังคงมีการใช้โทษประหารชีวิตจำานวนมาก

                     ในภูมิภาคนี้ ได้แก่ ประเทศอิหร่าน อิรัก ซาอุดิอาระเบีย และเยเมน ยังคงมีสถิติประหารชีวิต
                     มากถึงร้อยละ ๙๙ ของจำานวนการประหารชีวิตทั้งหมดในภูมิภาค  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มขึ้น






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 61
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79