Page 69 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 69
ความคิด ผลงาน การแสดงทัศนะต่อการเมืองการปกครอง และกระบวนการ
ยุติธรรม ในยุคสมัยคริสตศตวรรษที่ ๑๗ ของ ซีซาร์ เบ็คคาร์เรีย ถือได้ว่าเป็นการริเริ่มบุกเบิก
เพื่อการปฏิรูปกฎหมายอาญา ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ปฏิรูปสังคม การเมืองการปกครอง
ครั้งใหญ่และสำาคัญยิ่งในภาคพื้นยุโรป จนนำาไปสู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมของประเทศ
ฝรั่งเศสหลังจากที่มีการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. ๑๗๘๙ และนำาไปสู่การประกาศใช้
ประมวลกฎหมายอาญาฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. ๑๙๗๑ รวมทั้งแนวคิดที่สำาคัญ คือ การเห็นว่า
การใช้โทษประหารชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์และเป็นการลงโทษที่ทำาให้ไร้มนุษยธรรม
เบ็คคาร์เรีย ได้รับการยอมรับจากนักคิดคนสำาคัญในยุคนั้น ไม่ว่าจะเป็น วอลแตร์ (Voltaire)
โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) แบล็กสโตน (Blackstone) จอห์น อาดัมส์ (John
Adams) ที่เห็นว่าการใช้โทษประหารชีวิต ไม่มีความเหมาะสมต่อสังคมสมัยใหม่
นอกจากนี้ เบ็คคาเรียยังได้กล่าวประโยคสำาคัญยิ่งต่อวงการกฎหมาย
กระบวนการยุติธรรม และอาชญาวิทยาไว้ว่า “ไม่มีอาชญากรรม เมื่อไม่มีกฎหมาย” (nullum criemen
sig lego) ความคิดและผลงานของเบ็คคาเรียมีอิทธิพลและส่งผลกระทบในวงกว้างในตอนปลาย
ศตวรรษที่ ๑๘ ทั้งด้านอาชญาวิทยา กฎหมาย กระบวนการยุติธรรมทางอาญา และนักทฤษฎี
คนอื่นๆ เบ็คคาเรียได้รับเชิญจากประเทศต่าง ๆ หลายประเทศให้ไปช่วยปฏิรูประบบงานยุติธรรม
ข้อสันนิษฐานทางทฤษฎีและโมเดลทางทฤษฎีว่าด้วยการข่มขู่ยับยั้งการกระทำาผิดได้ถูกนำาไป
ผนวกรวมในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของหลายประเทศ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้กันมากที่สุดหลังมี
การเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เด่นชัดที่สุด และถูกนำามาอ้างถึงมากที่สุด คือ รัฐธรรมนูญ
ของสหรัฐอเมริกา (ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน, ๒๕๕๔)
ความคิดของเบ็คคาเรียที่เกี่ยวกับอาชญาวิทยา เบ็คคาเรียเห็นว่า “ทุกคน
ควรเท่ากันในทัศนะของกฎหมาย” การที่จะลงโทษผู้กระทำาผิด ควรจะพิจารณาแต่กรรมที่บุคคล
ได้ประกอบเท่านั้น ไม่ควรคำานึงถึงว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ใด เพราะถือว่าทุกคนกระทำาสิ่งใดลงไปโดยมี
เจตจำานงเสรี (Free Will) จึงควรพิจารณาโทษที่เหมาะสมกับความผิดที่บุคคลได้กระทำาลงไป
ตามความคิดของเบ็คคาเรียที่ว่า “Equal punishment for the same crime” (ณัฐฐ์วัฒน์
สุทธิโยธิน, ๒๕๕๔)
จากแนวความคิดของเบ็คคาเรียดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้ในช่วงทศวรรษ
ที่ ๑๗๘๐ ผู้มีอำานาจปกครองในแคว้นทัสกานี (Tuscany) ของประเทศอิตาลี และผู้มี
อำานาจปกครองประเทศออสเตรียไม่มีการใช้โทษประหารชีวิตเป็นระยะเวลาหลายปี และไม่มี
การใช้โทษประหารชีวิตในประเทศรัสเซียในการปกครองของ Empresses Elizabeth and
Catherine II (Anne Katrine Mortensen, 2008)
ต่อมา ในปี ค.ศ. ๑๘๔๖ มลรัฐมิชิแกนเป็นมลรัฐแรกที่มีการยกเลิก
โทษประหารชีวิตในประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมา ในปี ค.ศ. ๑๘๖๓ ประเทศเวเนซูเอลาเป็นประเทศ
แรกของโลกที่มีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตสำาหรับอาชญากรรมทุกประเภท เมื่อล่วงเลย
56 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ