Page 70 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 70

มาเป็นระยะเวลากว่า  ๒๕๐  ปี  ของศตวรรษที่  ๒๐  ปรากฏว่าประเทศในแถบละตินอเมริกา
                     ส่วนใหญ่ซึ่งประกอบด้วยประเทศโคลัมเบีย  คอสตาริกา  (Costa  Rica)  เอกวาดอร์  (Ecuador)

                     ปานามา  (Panama)  และ  อุรุกวัย  (Uruguay)  ได้มีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต

                     สำาหรับอาชญากรรมทุกประเภทภายหลังจากที่ได้ประกาศเอกราช  ต่อมา  ประเทศในยุโรป
                     ตะวันตกได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต  แม้ว่าประเทศเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะยังคงใช้
                     โทษประหารชีวิตไว้ในยามที่มีสงคราม  ได้แก่  ประเทศโปรตุเกส  ซานมารีโน  (San  Marino)

                     เนเธอร์แลนด์  นอร์เวย์  และสวีเดน  ได้มีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตในภาวะปกติ

                     ในปี ค.ศ. ๑๙๒๕ อย่างไรก็ตาม การยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศต่างๆ ในช่วงระยะเวลา
                     ดังกล่าวยังคงมีจำานวนน้อยกว่าประเทศที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิต  จำานวนประเทศที่มีการยกเลิก
                     โทษประหารชีวิตยังคงมีจำานวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  แต่เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ  โดยเมื่อสิ้นสุด

                     ปี  ค.ศ.  ๑๙๘๘  มีจำานวนประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต  จำานวน  ๓๕  ประเทศ  ต่อมา

                     หลังจากนั้นระยะเวลา  ๒๐  ปี  ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตมีจำานวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
                     โดยเมื่อสิ้นสุด  ค.ศ.  ๒๐๐๗  มีประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต  จำานวน  ๙๑  ประเทศ  ที่
                     ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำาหรับอาชญากรรมทั้งหมดหรือร้อยละ  ๔๖  ของประเทศทั้งหมด

                     ทั่วโลก  โดยมี  ๑๐  ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำาหรับอาชญากรรมทั่วไป  หรืออาจกล่าว

                     ได้ว่ามีประเทศทั่วโลกร้อยละ  ๕๒  ที่มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตสำาหรับอาชญากรรมทั่วไป
                     และอาชญากรรมทุกประเภท (Anne Katrine Mortensen, 2008)
                                        ในประเทศที่มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในปี  ค.ศ.  ๒๐๐๗  ปรากฏว่า

                     ประเทศในยุโรปได้เป็นพื้นที่สำาหรับปลอดจากการประหารชีวิต  โดยทุกประเทศยกเว้นประเทศ

                     เบลารุส (Belarus) มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต รวมทั้งได้มีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต
                     ในทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก ได้แก่ ประเทศในทวีปแอฟริกา ๑๔ ประเทศ ประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก
                     ๑๑  ประเทศ  ได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต  แม้ว่าในปี  ค.ศ.  ๒๐๐๗  จะมีประเทศในเอเชีย

                     ที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตจำานวน  ๔  ประเทศ  แต่การใช้โทษประหารชีวิตเป็นประเด็นที่มีการ

                     ถกเถียงกันในกลุ่มประเทศเอเชีย  อย่างไรก็ตาม  การใช้โทษประหารชีวิตยังคงมีมากในประเทศ
                     แถบแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลาง ซึ่งมีเพียงประเทศอิสราเอลเพียงประเทศเดียวที่มีการยกเลิก
                     (Anne Katrine Mortensen, 2008)

                                        ปัจจุบันการยกเลิกโทษประหารชีวิตของประเทศต่าง  ๆ  ได้เกิดขึ้น

                     อย่างต่อเนื่อง  อันมีผลมาจากกระแสเรียกร้องสิทธิมนุษยชนภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
                     ดังจะเห็นได้จากแนวโน้มของการยกเลิกโทษประหารชีวิต  แม้จะได้เกิดขึ้นอย่างช้า  ๆ  มาเป็น
                     ระยะเวลามากกว่า  ๒๐  ปี  ภายหลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง  แต่ได้มีการยกเลิกโทษประหาร

                     ชีวิตเพิ่มมากขึ้นในทศวรรษที่  ๑๙๙๐  เมื่อองค์การสหประชาชาติได้ก่อตั้งขึ้นในปี  ค.ศ.  ๑๙๔๕

                     มีประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำาหรับอาชญากรรมทุกประเภทจำานวน ๘ ประเทศ ซึ่ง ๒๐ ปี
                     หลังจากนั้น ในปี ค.ศ. ๑๙๖๕ ปรากฏว่าประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตมีจำานวน ๒๕ ประเทศ






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 57
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75