Page 75 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 75

ของการใช้โทษประหารในอิรัก โดยมีการประหารชีวิตบุคคลอย่างน้อย ๑๒๙ คน เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า
                  จากจำานวน ๖๘ คนในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ รวมทั้งการประหารชีวิตในประเทศอิหร่านที่มีสถิติการประหารชีวิต

                  เป็นอันดับสองรองจากสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยทางการประกาศยอมรับว่ามีการประหารชีวิต

                  ๓๑๔ ครั้ง แต่จำานวนที่แท้จริงคาดว่าอาจมากกว่านี้มาก เนื่องจากทางการไม่ยอมรับว่ามีการประหาร
                  ชีวิตอีกหลายครั้ง  และไม่มีการบันทึกข้อมูลไว้  รวมทั้งความขัดแย้งในประเทศซีเรียทำาให้แทบจะ
                  ไม่สามารถยืนยันว่ามีการใช้โทษประหารหรือไม่  สำาหรับปี  พ.ศ.  ๒๕๕๕  ในขณะที่สหรัฐอเมริกา

                  ยังคงเป็นประเทศเดียวที่ยังมีการประหารชีวิตบุคคลในทวีปอเมริกา โดยมีจำานวนการประหารชีวิต

                  ๔๓ ครั้ง เท่ากับปี พ.ศ. ๒๕๕๔  แต่รัฐที่ประหารชีวิตคนเพียง ๙ รัฐเปรียบเทียบกับ ๑๓ รัฐ  ในปี
                  พ.ศ.  ๒๕๕๔  คอนเนตทิคัตเป็นรัฐที่ยกเลิกโทษประหารลำาดับที่  ๑๗  ส่วนที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
                  กฎหมายที่กำาหนดให้ยกเลิกโทษประหารยังไม่ผ่านการรับรอง  ส่วนประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ

                  ในแถบทะเลแคริบเบียนยังคงปลอดจากการประหารชีวิต  โดยมีข้อมูลว่ามีการลงโทษประหาร

                  เพียง ๑๒ ครั้ง ใน ๓ จาก ๑๒ ประเทศ ในอนุภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ ทวีปแอฟริกาส่วนที่ต่ำากว่า
                  ทะเลทรายสะฮาราลงมามีความคืบหน้าเพิ่มเติมที่มุ่งไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต  โดยประเทศ
                  เบนินดำาเนินการทางนิติบัญญัติเพื่อยกเลิกข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่วนประเทศกานามีแผนยกเลิก

                  โทษประหารชีวิตในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่  และจะไม่มีนักโทษประหารชีวิตในเซียร์ราลีโอนอีกต่อไป

                  อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการใช้โทษประหารเพิ่มขึ้นอย่างมากในภูมิภาคนี้ นับแต่ พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕
                  โดยเป็นผลมาจากตัวเลขที่มีการประหารชีวิตเพิ่มขึ้นในประเทศซูดานและแกมเบีย  โดยใน
                  เดือนสิงหาคมมีการประหารชีวิตบุคคล ๙ คนในประเทศแกมเบีย ถือว่าเป็นครั้งแรกในรอบเกือบสาม

                  ทศวรรษ แม้จะมีเสียงร้องเรียนจากนานาชาติ ประธานาธิบดียายา จัมเมห์ (President Yahya Jammeh)

                  ได้ประกาศยอมให้มีความตกลงเพื่อยุติการใช้โทษประหารชั่วคราว  “อย่างมีเงื่อนไข”  กล่าวคือ
                  อาจมีการ “ยกเลิกโดยอัตโนมัติ” ในกรณีที่อัตราการก่ออาชญากรรมเพิ่มสูงขึ้น ส่วนในประเทศซูดาน
                  มีการประหารชีวิตเกิดขึ้นจริงจำานวน ๑๙ ครั้ง และมีการลงโทษประหาร ๑๙๙ ครั้งเป็นอย่างน้อย

                           อย่างไรก็ตาม ประเทศเบลารุสยังเป็นประเทศเดียวในยุโรปและเอเชียกลางที่มีการประหาร

                  ชีวิตบุคคล และมีการเก็บข้อมูลการประหารชีวิตอย่างเข้มงวด โดยมีผู้ชายอย่างน้อยสามคนที่ถูก
                  ประหารชีวิตในปี พ.ศ. ๒๕๕๕
                           ประเทศลัตเวียเป็นประเทศลำาดับที่ ๙๗ ในโลกที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำาหรับความผิด

                  ทางอาญาทุกประการ หลังจากตัดโทษประหารออกไปจากกฎหมายในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๕

                           สำาหรับเหตุผลที่ผู้สนับสนุนต่อการใช้โทษประหารชีวิตมักอ้างถึง  คือ  การระบุว่าโทษ
                  ประหารชีวิตมีผลในเชิงป้องปรามต่อการก่ออาชญากรรม  อย่างไรก็ตาม  จากงานศึกษาชิ้นสำาคัญ
                  ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีข้อสรุปว่า ไม่สามารถใช้ข้ออ้างเรื่องการป้องปราม

                  เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้โทษประหารได้

                           “รัฐบาลที่ยังประหารชีวิตบุคคลอยู่แทบไม่มีเหตุผลที่จะสร้างความชอบธรรมให้กับตนเอง
                  ไม่มีหลักฐานใด ๆ  ที่ชี้ว่าโทษประหารจะมีผลเป็นการเฉพาะ  ในแง่การป้องปรามไม่ให้คนก่อ






        62     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80