Page 67 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 67

ชีวิต จำานวน ๓ ล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยเป็นค่าใช้จ่ายที่มากกว่าขณะที่ไม่มีโทษประหารชีวิตจำานวน
                  ๒ ล้านดอลล่าร์สหรัฐ นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายสำาหรับการใช้โทษประหารในการข่มขู่ยับยั้งอาชญากรรม

                  ไม่ได้ก่อให้เกิดการข่มขู่ยับยั้งแต่ประการใด ในขณะที่มลรัฐที่มีการใช้โทษประหาร เช่น มลรัฐเท็กซัส

                  (Texas) และ มลรัฐโอคลาโฮมา (Oklahoma) มีอัตราการเกิดอาชญากรรมมากกว่ามลรัฐที่มีการใช้โทษ
                  จำาคุกตลอดชีวิตโดยไม่การพักการลงโทษ  นอกจากนี้  มลรัฐโคโลราโด  (Colorado)  หลังจากที่มี
                  การยกเลิกโทษประหารชีวิตสามารถประหยัดงบประมาณได้มากกว่าขณะที่ใช้โทษประหารชีวิต รวมทั้ง

                  การยกเลิกโทษประหารชีวิตในมลรัฐแคนซัส  (Kansas)  สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายประมาณ

                  ๕๐๐,๐๐๐ ดอลล่าร์สหรัฐ จากทุกคดีในกรณีที่ยังไม่มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต (The death penalty
                  saving lives and money, 2009) นอกจากนี้ การใช้โทษประหารชีวิตจะเป็นสร้างความแปลกแยก
                  ให้แก่ชนกลุ่มน้อยหรือผู้ที่มีฐานะยากจน  และเป็นการล่วงละเมิดในชีวิตของผู้กระทำาผิด  (Capital

                  Punishment, 2008)

                           สำาหรับการประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ถือว่าเป็นความล้มเหลวของกระบวนการยุติธรรม
                  ในการลงโทษผู้กระทำาผิด  โดยมีผู้ที่ถูกประหารชีวิตจำานวนหนึ่งที่เป็นผู้บริสุทธิ์  ดังจะเห็นได้จาก
                  มีผู้ต้องโทษประหารชีวิตจำานวน  ๓๙  คน  ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้ค้นพบพยานหลักฐานว่า

                  เป็นผู้บริสุทธิ์ หรือมีปัญหาข้อสงสัยในความผิดที่ได้กระทำาลงไป นับตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๙๒ ปรากฏว่า

                  การใช้พยานหลักฐานจากการตรวจพิสูจน์สารทางพันธุกรรม  (DNA)  ทำาให้นักโทษประหารชีวิต
                  จำานวน ๑๕ คน กลายเป็นผู้บริสุทธิ์แต่การใช้หลักฐานจากการตรวจพิสูจน์สารทางพันธุกรรม (DNA)
                  เป็นเพียงส่วนน้อยของนักโทษประหาร  นอกจากนี้  ในประเทศอังกฤษได้มีการทบทวนพิจารณาถึง

                  โทษประหารชีวิตใหม่ ปรากฏว่านักโทษประหารชีวิต ๑ คน ได้รับการอภัยโทษ และนักโทษประหาร

                  ชีวิต ๓ คน พ้นผิดจากคดีที่ต้องโทษประหารชีวิตในระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๕๐ – ๑๙๕๓ (Capital
                  Punishment, 2008)



                                  ๒)  สภ�พก�รณ์ปัจจุบันและแนวท�งในอน�คตต่อก�รยกเลิกก�รใช้โทษ

                  ประห�รชีวิต
                                     สภาพการณ์ปัจจุบันและแนวทางในอนาคตต่อการยกเลิกการใช้โทษประหาร
                  ชีวิตของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประกอบด้วย

                                     ๒.๑) วิวัฒน�ก�รและพัฒน�ก�รในก�รยกเลิกโทษประห�รชีวิต

                                     แนวความคิดในการยกเลิกโทษประหารชีวิตได้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
                  ในปลายศตวรรษที่ ๑๘ เมื่อแนวคิดเรื่องอรรถประโยชน์นิยม (Utilitarian) และมนุษยนิยม (Humanistic)
                  ได้เจริญรุ่งเรืองในยุโรป โดยเริ่มจากในปี ค.ศ. ๑๗๖๔ ซีซาร์ เบ็คคาเรีย (Cesare Beccaria)

                  นักอาชญาวิทยาชาวอิตาเลียน ได้เขียนบทความภาษาอิตาเลียนซึ่งเป็นผลงานชิ้นสำาคัญในหนังสือชื่อ

                  “Dei delitti e delle pene” ตรงกับความหมายในภาษาอังกฤษว่า “On Crimes and Punishments”
                  ซึ่งเป็นบทความที่จุดประกายความคิดของนักปราชญ์ในอิตาลีและทั่วภาคพื้นยุโรป






        54     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72