Page 66 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 66

โทษประหารชีวิต เช่นเดียวกับการสำารวจความคิดเห็นของประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกาต่อการ
                     ใช้โทษประหารชีวิต ปรากฏว่าประชาชนโดยส่วนใหญ่เห็นด้วยต่อการใช้โทษประหารชีวิต นอกจากนี้

                     สำานักข่าว  ABC  ได้มีการสำารวจความคิดเห็นของประชาชนกับการใช้โทษประหารชีวิตในปี  ค.ศ.

                     ๒๐๐๖ ปรากฏว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ ๖๕ เห็นด้วยต่อการใช้โทษประหารชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับ
                     การสำารวจความคิดเห็นของชาวอเมริกาของสำานักแกลล็อป โพลล์ ในปี ค.ศ. ๒๐๐๖ ที่แสดงให้เห็น
                     ว่าชาวอเมริกันประมาณครึ่งหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่าการประหารชีวิตเป็นวิธีการลงโทษที่ไม่เพียงพอ

                     ต่อความผิดของอาชญากร  และประชาชนร้อยละ  ๖๐  เห็นว่าเป็นการลงโทษที่มีความยุติธรรม

                     อย่างไรก็ตาม ผลการสำารวจได้แสดงให้เห็นถึงความคิดเห็นที่แตกต่างของประชาชน ระหว่างแนวทาง
                     ในการเลือกการลงโทษประหารชีวิตและการลงโทษจำาคุกตลอดชีวิตโดยไม่มีการอภัยโทษ
                     โดยประชาชน  ๖  ใน  ๑๐  ไม่เชื่อว่าโทษประหารชีวิตจะสามารถยับยั้งอาชญากรรมได้  และ

                     ประชาชน ส่วนใหญ่เชื่อว่ามีผู้บริสุทธิ์ที่ถูกประหารชีวิตในช่วงระยะเวลา ๕ ปีที่ผ่านมา (Capital

                     Punishment, 2008)
                             ในทางตรงกันข้าม การไม่เห็นด้วยกับโทษประหารชีวิตได้เกิดขึ้นมาเป็นเวลานาน ดังจะเห็น
                     ได้จากแบ็คคาเรียที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้โทษประหารชีวิตมาตั้งแต่ก่อนศตวรรษที่ ๑๘ โดยแบ็คคาเรีย

                     ไม่เห็นด้วยกับการลงโทษที่โหดร้ายและป่าเถื่อน  ตลอดจนการลงโทษด้วยวิธีการประหารชีวิต

                     ซึ่งแบ็คคาเรียได้ให้เหตุผลสำาคัญสองประการ คือ แบ็คคาเรียเชื่อว่ารัฐหรือบุคคลใดก็ตามไม่มีสิทธิ
                     โดยชอบธรรมที่จะฆ่าผู้อื่น และประการที่สอง การประหารชีวิตไม่ได้เป็นการป้องกันอาชญากรรม
                     ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด การจะทำาให้บุคคลอื่นเกรงกลัวต่อการลงโทษที่ดีที่สุด คือ ระยะเวลาในการ

                     รับโทษ  การที่บุคคลทั่วไปเห็นผู้กระทำาผิดถูกถอดถอนหรือยกเลิกสิทธิเสรีภาพตลอดชีวิตที่เหลือ

                     ของบุคคลดังกล่าว จะเป็นการป้องกันอาชญากรรมที่ได้ผลดีกว่าการประหารชีวิต เนื่องจากการจำาคุก
                     ตลอดชีวิตจะเป็นตัวอย่างให้ประชาชนทั่วไปได้เห็นตลอดไป  อันเป็นการข่มขู่ยับยั้งต่อผู้ที่ต้องการ
                     จะประกอบอาชญากรรมต่อไป (Capital Punishment, 2008)

                             ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้โทษประหารชีวิตต้องการให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต ให้เหตุผล

                     ว่าการประหารชีวิตอาจนำาไปสู่การลงโทษผู้บริสุทธิ์และไม่สามารถดำาเนินการแก้ไขในการลงโทษผิดได้
                     ซึ่งการใช้โทษจำาคุกตลอดชีวิตจะมีประสิทธิภาพต่อการลงโทษมากกว่าการประหารชีวิตและเป็นการ
                     ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการใช้โทษประหารชีวิต กล่าวคือ จากผลการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา

                     ได้แสดงให้เห็นว่าการประหารชีวิตก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายมากกว่าการจำาคุกตลอดชีวิต เนื่องจากค่าใช้จ่าย

                     ที่เกิดจากกระบวนการพิจารณาคดีที่ต้องดำาเนินการอย่างระมัดระวังตั้งแต่กระบวนการในการหา
                     พยานหลักฐาน กระบวนการในการพิจารณาคดี การอุทธรณ์ ฎีกาคดีที่ต้องใช้ระยะเวลานาน รวมทั้ง
                     ในขณะต้องโทษจำาคุกในสถานภาพของนักโทษประหารที่ต้องควบคุมตัวในห้องขังเดี่ยวและมีการ

                     ควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด อันก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่อมลรัฐที่มีการใช้โทษประหารชีวิตมากกว่ามลรัฐที่

                     ยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต นอกจากนี้ ข้อมูลจากมลรัฐแมรี่แลนด์ได้ใช้ภาษีสำาหรับโทษประหารชีวิต
                     ระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๗๘-๑๙๙๙ รวม ๑๘๖ ล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยเป็นค่าใช้จ่ายสำาหรับการตัดสินประหาร






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 53
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71