Page 65 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 65

สำาหรับสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๖๔๒ รัฐบาลกลางและแต่ละมลรัฐได้มีการประหาร
                  ชีวิตเยาวชน จำานวนประมาณ ๓๖๕ คน นอกจากนี้ ในปี ค.ศ. ๒๐๐๒ ศาลสูงสุดของประเทศ

                  สหรัฐอเมริกาได้มีการประหารชีวิตผู้ที่บกพร่องทางจิต  ซึ่งถูกมองว่าเป็นการกระทำาที่ไม่เป็นไปตาม

                  บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ (Capital Punishment, 2008)
                           องค์การสหประชาชาติได้มีการกำาหนดข้อห้ามในการประหารชีวิตเยาวชน ซึ่งทุกประเทศ
                  ได้มีการลงนามในข้อตกลงดังกล่าว ยกเว้นประเทศโซมาเลียและประเทศสหรัฐอเมริกา โดยองค์การ

                  สหประชาชาติได้มีการสนับสนุนและส่งเสริมให้เห็นว่าการประหารชีวิตเยาวชนเป็นการกระทำาที่ผิด

                  ต่อกฎหมายสากล
                           ประเทศญี่ปุ่นได้มีการพิจารณาทบทวนถึงการใช้โทษประหารชีวิตในเยาวชนที่กระทำาผิด
                  แต่สำาหรับประเทศญี่ปุ่นได้กำาหนดอายุขั้นต่ำาสำาหรับเยาวชน  คือ  ๒๑  ปี  โดยในปี  ค.ศ.  ๒๐๐๘

                  มีเยาวชนที่กระทำาผิดและต้องโทษประหารชีวิต มีอายุระหว่าง ๑๘-๑๙ ปี

                           แม้ว่าประเทศอิหร่านจะมีการให้สัตยาบรรณในการคุ้มครองสิทธิของเด็ก หากแต่ประเทศ
                  อิหร่านเป็นประเทศที่มีการประหารชีวิตเยาวชนมากที่สุดในโลก ซึ่งได้รับการประณามจากประเทศ
                  ต่าง ๆ ทั่วโลกในการกระทำาดังกล่าว และได้มีการรณรงค์ให้มีการเลิกการประหารชีวิตเด็ก จำานวน

                  ผู้ถูกประหารชีวิตในประเทศอิหร่านมีจำานวนมากถึง ๒ ใน ๓ ของผู้ถูกประหารชีวิตทั่วโลก และมี

                  การประมาณจำานวนเยาวชนที่ต้องโทษประหารชีวิตมีจำานวนมากถึง ๑๒๐ คน ในปี ค.ศ. ๒๐๐๘
                  โดยเพิ่มจากจำานวน  ๗๑  คน  ในปี  ค.ศ.  ๒๐๐๗  ซึ่งการประหารชีวิตเยาวชน  ๓  คน  ได้แก่
                  Mahmoud  Asgari  Ayaz  Marhoni  และ  Makwan  Moloudzadeh  ได้นำาไปสู่การประณาม

                  การประหารชีวิตดังกล่าวจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และตำาหนิระบบศาลของประเทศอิหร่านที่มี

                  การตัดสินคดีประหารชีวิตดังกล่าว (Capital Punishment, 2008) อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. ๒๐๑๒
                  ที่ผ่านมาปรากฏว่า ประเทศอิหร่านยังคงมีการประหารชีวิตผู้ที่มีอายุน้อยกว่า ๑๘ ปี จำานวน ๓ คน
                  (Amnesty International Thailand, 2012)




                           คว�มเห็นต่อก�รใช้โทษประห�รชีวิต
                           สำาหรับความเห็นต่อการใช้โทษประหารชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ในสังคมแยกเป็นสองฝ่าย คือ
                  ผู้ที่เห็นด้วยกับการใช้โทษประหารชีวิต และผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้โทษประหารชีวิต

                           ผู้ที่เห็นด้วยกับการใช้โทษประหารชีวิตให้เหตุผลว่าโทษประหารชีวิตเป็นการแก้แค้นทดแทน

                  ในการกระทำาของอาชญากร  โดยการจำาคุกตลอดชีวิตไม่สามารถยับยั้งอาชญากรรมได้อย่างมี
                  ประสิทธิภาพ และเห็นว่าการประหารชีวิตได้ให้ความเคารพในสิทธิของการมีชีวิตจากการลงโทษผู้ที่
                  ละเมิดกฎในรูปแบบที่มีความเข้มงวดที่สุด (Capital Punishment, 2008)

                           สำาหรับผลการสำารวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วโลกต่อการใช้โทษประหารชีวิตของ

                  Gallup  International  poll  ได้แสดงให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ได้ให้การสนับสนุนต่อการใช้
                  โทษประหารชีวิต โดยประชาชนกลุ่มตัวอย่างที่สำารวจทั่วโลก ร้อยละ ๕๒ มีความพึงพอใจต่อการใช้






        52     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70