Page 51 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 51

ต่อสถาบันศาสนานั้นได้เปลี่ยนแปลงไป  อย่างไรก็ดี  นอกจากแนวความคิดในการลงโทษผู้กระทำา
                  ความผิดต่อสถาบันศาสนาที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว  เนื่องจากการปรับปรุงกฎหมายของไทยนั้น

                  แรงผลักดันส่วนหนึ่งมาจากความต้องการในการหลีกหนีการตกเป็นอาณานิคม  กฎหมายที่

                  ปรับปรุงนั้นจึงต้องแสดงให้เห็นถึงความเป็นสากลทัดเทียมนานาอารยประเทศ  เพื่อมิให้
                  ชาวตะวันตกอ้างได้ว่ากฎหมายของไทยล้าหลังและป่าเถื่อน แล้วเข้ามาปกครองประเทศ ด้วยเหตุนี้
                  แม้กฎหมายลักษณะอาญา  ร.ศ.  ๑๒๗  จะยังคงบัญญัติถึงโทษประหารชีวิตอยู่  แต่ในแง่

                  ของกระบวนการและวิธีการในการประหารชีวิตมีความโหดร้ายทารุณน้อยลง  ก่อนมีการลงโทษ

                  ประหารชีวิตจะต้องมีกระบวนการในการตรวจสอบมากขึ้น  เพราะการประหารชีวิตนั้นย่อมกระทบ
                  ถึงสิทธิในการมีชีวิตของบุคคลดังกล่าว  ซึ่งในช่วงนี้ชาวตะวันตกได้เริ่มมีแนวความคิดและคำานึงถึง
                  สิทธิความเป็นมนุษย์มากขึ้น  อันส่งผลต่อการปรับปรุงกฎหมายของประเทศไทยที่จะต้องคำานึงถึง

                  แนวคิดดังกล่าวเช่นกัน สำาหรับการประหารชีวิตในยุคนี้ ได้แก่



                           ก�รประห�รชีวิตด้วยก�รตัดศีรษะ
                           การประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  ซึ่งการประหารชีวิต

                  ด้วยการตัดศีรษะในสมัยโบราณ  เรียกว่า  “กุดหัว”  โดยใช้ดาบฟันคอนักโทษเด็ดขาด  ดาบที่ใช้

                  ในการประหารมีรูปร่างต่าง  ๆ  กัน  ครูเพชฌฆาตเป็นผู้จัดทำาดาบขึ้น  มีดาบปลายแหลม
                  ดาบปลายตัด  และดาบหัวปลาไหลการประหารชีวิตครั้งใดจะใช้ดาบชนิดใด  ให้อยู่ในดุลพินิจ
                  ของครูเพชฌฆาต

                           เพชฌฆาตผู้ทำาหน้าที่ประหารชีวิตมี ๓ คน คือ ดาบที่หนึ่ง และตัวสำารองอีก ๒ คน เรียกว่า

                  ดาบสองและดาบสาม ถ้าดาบหนึ่งฟันคอไม่ขาด ดาบสองจะต้องซ้ำา ถ้ายังไม่ขาดดาบสามก็ต้องเชือด
                  ให้ขาด  พิธีการประหารชีวิตด้วยดาบ  มีวัตถุเครื่องมือใช้และพิธีทางไสยศาสตร์หลายอย่าง  เช่น
                  มีสายมงคลล้อมรอบบริเวณประหาร กันผีตายโหงจะเฮี้ยน การตัดสายมงคลต้องใช้มีดโดยเฉพาะ

                  จะใช้ของอื่นไม่ได้ เป็นต้น



                           ในสมัยรัชกาลที่ ๕ การประหารชีวิตนักโทษด้วยดาบมักทำาพิธีกันที่วัด โดยคุมตัวผู้ต้อง
                  โทษประหาร เดินทางโดยทางเรือออกจากคุกในลักษณะจองจำาครบ ๕ ประการ ดังจะสรุปขั้นตอน

                  ของการประหารชีวิตด้วยดาบ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ดังนี้

                            ๑. เมื่อลูกขุน ณ ศาลาลูกขุน ณ ศาลหลวง วางโทษประหารชีวิต ก็จะนำาความขึ้น
                               กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้
                               ประหารชีวิต

                            ๒. ก่อนจะนำาตัวไปประหารชีวิต จะต้องถูกเฆี่ยน ๓ ยก ๆ ละ ๓๐ ที รวม ๙๐ ที

                            ๓. จัดอาหารคาวหวานมื้อสุดท้ายให้นักโทษกินก่อนประหาร  และนิมนต์พระมาเทศน์
                               ให้ฟัง






        38     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56