Page 54 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 54

พระบรมราชวินิจฉัยเสียก่อน จึงจะดำาเนินการขั้นต่อไป ฎีกาของนักโทษประหารให้ยื่นได้ครั้งเดียว
                     เท่านั้น ในการประหารชีวิตนักโทษนั้น ให้มีคณะกรรมการเป็นผู้ดำาเนินการ ประกอบด้วย ผู้บัญชาการ

                     เรือนจำาในท้องที่ที่ทำาการประหาร เป็นประธานกรรมการ เจ้าพนักงานเรือนจำาระดับหัวหน้าฝ่ายแพทย์

                     การประหารชีวิตส่วนมากจะทำาที่เรือนจำากลางบางขวาง  ซึ่งกำาหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
                     หรือผู้แทนร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย  โดยกรมราชทัณฑ์จัดผู้แทนไปดูแลความเรียบร้อยในการ
                     ประหารชีวิต (โทษประหารชีวิตในประเทศไทย, ๒๕๔๘)

                             ก่อนวันประหารชีวิต  ให้เจ้าหน้าที่ตำารวจทำาการพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ถูกประหาร

                     พร้อมทั้งรับแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือของนักโทษที่มีอยู่ในสำานวนและหมายศาลมาทำาการตรวจสอบ
                     การตรวจสอบนั้นให้สอบกับแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือที่เก็บอยู่  ณ  กองทะเบียนประวัติอาชญากร
                     ตามเลขคดีและนามผู้ต้องโทษ เมื่อตรวจแล้วรายงานผลการตรวจสอบและส่งแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ

                     ซึ่งได้จัดการพิมพ์ขึ้นคราวนี้  ๑  ฉบับ  กับแบบพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ต้องโทษที่เอาไปจากสำานวน

                     ตามหมายศาลไปยังคณะกรรมการเรือนจำาซึ่งมีหน้าที่ต้องทำาการประหาร  ทำาการตรวจสอบคดี
                     ตำาหนิ  รูปพรรณตามทะเบียนรายตัว  ทำาบันทึกไว้เป็นหลักฐานเพื่อมิให้มีการประหารผิดตัว
                     เมื่อถึงกำาหนดวันประหารชีวิต  เจ้าพนักงานเรือนจำาจะจัดนิมนต์พระสงฆ์มาแสดงพระธรรมเทศนา

                     ให้นักโทษที่ถูกประหารที่นับถือศาสนาพุทธ  ส่วนนักโทษที่มิได้นับถือศาสนาพุทธ  หากมีความ

                     ปรารถนาจะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ก็อนุญาตได้ตามสมควร (โทษประหารชีวิตในประเทศไทย,
                     ๒๕๔๘)
                             หากนักโทษมีความประสงค์จะขอทำาพินัยกรรมก็จะจัดการทำาให้  จัดหาอาหารมื้อสุดท้าย

                     ให้นักโทษก่อนนำาไปประหาร  ผู้บัญชาเรือนจำาจะนำาคำาสั่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์  พร้อมด้วยสำาเนา

                     คำาพิพากษาอ่านให้นักโทษฟัง  นำานักโทษประหารไปยังที่จัดเตรียมไว้  จัดการยิงให้ตายต่อหน้า
                     คณะกรรมการ  โดยนำาผู้ต้องโทษเข้าสู่หลักประหารซึ่งเป็นลักษณะเป็นไม้กางเขน  มีความสูง
                     ขนาดไหล่  โดยผู้ต้องโทษจะถูกมัดด้วยด้ายดิบ  ให้ยืนหันหน้าเข้าหลักประหารซึ่งมีไม้นั่งคร่อม

                     ป้องกันมิให้ผู้ต้องโทษยืนตัวงอ  หรือเข่าอ่อน  ข้อมือทั้งสองผูกมัดติดกับหลักประหารในลักษณะ

                     ประณมมือ  กำาดอกไม้ธูปเทียนไว้  เจ้าหน้าที่นำาฉากประหารซึ่งมีเป้าวงกลมติดอยู่กับฉาก
                     ตั้งเล็งให้เป้าอยู่ตรงจุดกลางหัวใจของผู้ต้องโทษ  ห่างจากด้านหลังผู้ต้องโทษประมาณ  ๑  ฟุต
                     เพื่อกำาบังมิให้เจ้าหน้าที่ผู้ลั่นไกปืนเห็นตัวผู้ต้องโทษ  แท่นปืนประหารตั้งอยู่ห่างจากฉากประหาร

                     ประมาณ  ๔  เมตร  เมื่อพร้อมแล้วเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณ  โดยโบกธงสีแดง  ผู้ทำาหน้าที่ลั่นไกปืน

                     คณะกรรมการประหารชีวิตร่วมกันตรวจสอบจนแน่ใจว่านักโทษถึงแก่ความตายอย่างแท้จริง จากนั้น
                     เจ้าหน้าที่จะจัดพิมพ์ลายนิ้วมือนักโทษประหารเป็นครั้งสุดท้าย  เพื่อยืนยันว่าไม่ประหารชีวิตผิดตัว
                     (โทษประหารชีวิตในประเทศไทย, ๒๕๔๘)

                             ให้คณะกรรรมการตรวจนักโทษว่าได้ตายแล้วจริง  พิมพ์ลายนิ้วมือลงนามรับรองว่าเป็น

                     ลายนิ้วมือของนักโทษประหารจริง  ส่วนศพถ้ามีญาติมารับก็อนุญาต  ถ้าไม่มีญาติมาขอรับเรือนจำา
                     จะดำาเนินการให้ ตามระเบียบกรมราชทัณฑ์กำาหนดให้ประหารชีวิตก่อนเวลา ๐๗.๐๐ น. ตั้งแต่ พ.ศ.






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 41
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59