Page 53 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 53

เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ในปัจจุบันแนวความคิดในการต่อต้านการลงโทษประหารชีวิตและสนับสนุน
                  ให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตมีมากขึ้นเรื่อย  ๆ  ด้วยเหตุผลของประสิทธิภาพในการลงโทษ

                  ประหารชีวิตว่า นอกจากจะเป็นการแก้แค้นทดแทนผู้กระทำาความผิดแล้ว การลงโทษประหารชีวิต

                  จะสามารถข่มขู่ยับยั้งมิให้มีการกระทำาความผิดได้อีกจริงหรือไม่ นอกจากนี้ การลงโทษประหารชีวิต
                  ยังเป็นการตัดผู้กระทำาความผิดออกจากสังคมอย่างถาวร  ซึ่งส่งผลให้ผู้กระทำาความผิดไม่มีโอกาส
                  ปรับปรุงแก้ไขตนเองได้  จึงขัดกับหลักการลงโทษที่ต้องการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำาความผิดเพื่อให้

                  กลับเข้าสู่สังคมได้ในปัจจุบัน อีกทั้งการประหารชีวิตนั้นอาจมีการผิดพลาดในกระบวนการตัดสินคดี

                  ซึ่งเมื่อมีการประหารชีวิตแล้วไม่อาจแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นได้  จากแนวความคิดในแง่ประสิทธิภาพ
                  ของการประหารชีวิตดังกล่าว รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติต่อการประหารชีวิตของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
                  ซึ่งได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต จึงเกิดการสนับสนุนให้ยกเลิกการลงโทษประหารชีวิต อันส่งผล

                  ให้ประเทศไทยได้รับแนวความคิดนี้มาโดยประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสังคมไทยมากขึ้นในปัจจุบัน (ณัฐพร

                  นครอินทร์, ๒๕๕๓)


                           สำาหรับการประหารชีวิตของประเทศไทยในยุคปัจจุบันมีการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า

                  และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นการประหารชีวิตด้วยการฉีดสารพิษ ดังนี้



                           ก�รประห�รชีวิตด้วยก�รยิงเป้�
                           ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ ว่าด้วย

                  การประหารชีวิต  จากการ  “ให้เอาไปตัดศีรษะเสีย”  เป็น  “ให้เอาไปยิงเสียให้ตาย”  ปืนกลมือ

                  ที่ใช้ประหารชีวิตครั้งแรกเป็นปืนกลมือแบบแบล็คมันต์  ใช้ประหารชีวิตครั้งแรก  เมื่อวันที่  ๑๒
                  กันยายน  ๒๔๗๘  ต่อมา  ประมาณ  พ.ศ.  ๒๕๒๐  ได้มีการเปลี่ยนปืนกลมือจากแบล็คมันต์
                  เป็นปืนกลแบบเอชเค  สำาหรับปืนกลมือแบล็คมันต์นี้ใช้ประหารชีวิตผู้ต้องขังมาแล้วจำานวน

                  ๒๑๓ คน (โทษประหารชีวิตในประเทศไทย, ๒๕๔๘)

                           สำาหรับการลงโทษประหารชีวิตผู้กระทำาผิดที่ได้เปลี่ยนจากการประหารชีวิตด้วยดาบ
                  มาเป็นการประหารชีวิตด้วยปืน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นต้นมา เรียกว่า การยิงเป้า ซึ่งเมื่อมี
                  คำาพิพากษาถึงที่สุดให้ประหารชีวิตผู้ใดแล้ว ศาลที่เป็นเจ้าของคดีจะได้ออกหมายจำาคุกเมื่อคดีถึงที่สุด

                  ส่งไปยังผู้บัญชาการเรือนจำาในท้องที่ที่ศาลนั้นตั้งอยู่ หมายจะระบุถึงชื่อโจทก์ จำาเลย ฐานความผิด

                  จำาเลยต้องโทษตามบทกฎหมายใด  มาตราใด  พร้อมคำาสั่งว่าภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราช
                  บัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๔๗๙ ให้ประหารชีวิตจำาเลย (โทษประหารชีวิตในประเทศไทย, ๒๕๔๘)
                           เมื่อผู้บัญชาการเรือนจำาได้รับหมายดังกล่าวแล้ว  จะนำานักโทษไปประหารชีวิตในทันที

                  ไม่ได้ต้องรอให้ครบกำาหนด  ๖๐  วัน  นับแต่วันฟังคำาพิพากษาตามมาตรา  ๒๖๒  ถ้านักโทษหรือ

                  ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องได้ยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ และทรงยกเรื่องราวมาก่อนครบ ๖๐ วัน
                  ก็ดำาเนินการประหารชีวิตได้ในทางปฏิบัติ เมื่อนักโทษได้ยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษแล้ว ต้องรอฟัง






         40    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58