Page 49 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 49
สถาน ๑๓ คือ ทำามิให้หนังพังหนังขาด แล้วเอาลูกสีลา (ลูกหิน) บดทุกกระดูก
ให้แหลกย่อยแล้วรวบผมเข้าทั้งสิ้น ยกขึ้นหย่อนลงกระทำาให้เนื้อเป็นกองเป็นลอม แล้วพับห่อเนื้อหนัง
กับทั้งกระดูกนั้นทอดวางไว้ดั่งตั่งอันทำาด้วยฟางซึ่งเอาไว้เช็ดเท้า
สถาน ๑๔ คือ ให้เคี่ยวน้ำามันให้เดือดพลุ่งพล่าน แล้วลาดสาดลงมาแต่ศีศะ (ศีรษะ)
จนกว่าจะตาย
สถาน ๑๕ คือ ให้กักขังสุนัขร้ายทั้งหลายไว้ อดอาหารหลายวันให้เต็มอยาก แล้วปล่อย
ให้กัดทึ้งเนื้อหนังกินให้เหลือแต่ร่างกระดูกเปล่า
สถาน ๑๖ คือ ให้เอาขวานผ่าอกทั้งเป็นแหกออกดั่งโครงเนื้อ
สถาน ๑๗ คือ ให้แทงด้วยหอกทีละน้อยๆ จนกว่าจะตาย
สถาน ๑๘ คือ ให้ขุดหลุมฝังเพียงเอว แล้วเอาฟางปกลงคลุมร่างก่อนคลอกด้วยเพลิง
พอหนังไหม้แล้วไถด้วยไถเหล็ก ให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่เป็นริ้วน้อยริ้วใหญ่
สถาน ๑๙ คือ ให้เชือดเนื้อล่ำาออกทอดด้วยน้ำามันเหมือนทอดขนม ให้กินเนื้อตัวเอง
จนกว่าจะตาย
สถาน ๒๐ คือ ให้ตีด้วยตะบองสั้นตะบองยาวจนกว่าจะตาย
สถาน ๒๑ คือ ตีด้วยหวายที่มีหนามจนกว่าจะตาย
(โทษประหารชีวิตในประเทศไทย, ๒๕๔๘)
• ก�รสำ�เร็จโทษด้วยท่อนจันทน์
การสำาเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์เป็นวิธีการประหารพระราชวงศ์ไทย โดยการ
ใช้ท่อนจันทน์เป็นอุปกรณ์ในการประหาร ซึ่งมีการบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๗๖ แห่งกฎมณเฑียรบาล
กฎหมาย ตราสามดวง ฉบับชำาระในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยการ
ประกาศใช้กฎมณเฑียรบาลดังกล่าวเป็นครั้งแรกเมื่อใดยังคงเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกัน
อาทิ กฎมณเฑียรบาลที่เก่าแก่ที่สุดได้ปรากฏในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีบรมไตรโลกนาถ
สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งการประหารชีวิตด้วยวิธีนี้ไม่มีการปฏิบัติอีกต่อมาตั้งแต่รัชกาลพระบาท
สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้เลิกเสียอย่างเป็นทางการตั้งแต่
มีการประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ ในรัชกาลต่อมา ซึ่งกฎหมายดังกล่าวกำาหนดให้
มีการประหารชีวิตบุคคลทุกชนชั้นกระทำาโดยการตัดศีรษะ (การสำาเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์, ๒๕๔๕)
๒) ก�รลงโทษประห�รชีวิตในยุคปฏิรูประบบกฎหม�ย ในสมัยพระบ�ทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้�เจ้�อยู่หัว
แนวความคิดในการลงโทษประหารชีวิตในยุคของการปฏิรูปกฎหมายเริ่มขึ้น
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวตะวันตกได้
เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีและมีอิทธิพลในประเทศไทยมากขึ้น เรื่อยมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จ
36 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ