Page 56 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 56
มีการจัดเตรียมพื้นที่ หรือห้องสำาหรับผู้สื่อข่าวที่เข้าไปทำาข่าวในเรือนจำา รวมทั้งพยานที่จะเข้าไป
สังเกตการณ์ในการประหาร เวลา ๑๘.๐๐ น. (โทษประหารชีวิตในประเทศไทย, ๒๕๔๘)
เจ้าหน้าที่จะจัดอาหารมื้อสุดท้ายไปให้นักโทษประหารรับประทาน เวลา ๒๒.๐๐ น. ผู้สื่อข่าว
และพยานจึงได้รับอนุญาตให้เข้าเรือนจำาและได้รับการชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ถึงขั้นตอนการประหาร
เวลา ๒๓.๓๐ น. จึงได้เริ่มดำาเนินการเพื่อเตรียมการประหารซึ่งจะเริ่มเวลาเที่ยงคืนตรง เมื่อใกล้
ถึงเวลาประหาร เจ้าหน้าที่จะนำาตัวนักโทษประหารจากห้องขังไปที่ห้องประหาร แต่แทนที่จะนำา
นักโทษประหารไปยืนตรึงกับหลักประหาร ก็เปลี่ยนเป็นการให้นอนบนเตียงประหาร ตรึงและผูก
ด้วยสายหนัง ทั้งขา ลำาตัว และแขนทั้ง ๒ ข้าง ซึ่งอยู่ในท่ากางออกทำาให้ไม่สามารถดิ้นได้ เจ้าหน้าที่
ราชทัณฑ์ที่ได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดีจะมาติดเครื่องวัดการเต้นของหัวใจเข้ากับตัวนักโทษ
เพื่อตรวจสอบการตายหลังการฉีดยา โดยให้กรรมการภายนอกได้เห็นการเต้นของหัวใจ จากนั้น
จึงแทงเข็มเข้าเส้นเลือดใหญ่ หรือที่หลังมือทั้ง ๒ ข้าง ข้างหนึ่งเป็นเข็มที่ใช้จริง อีกข้างหนึ่งเป็นเข็ม
สำารองในกรณีที่เข็มแรกมีปัญหา หรือบางกรณีจะแทงเข็มที่แขนเข็มเดียว จากนั้นนำาท่อมาต่อเข้า
เข็ม โยงไปยังเครื่องฉีดยา (โทษประหารชีวิตในประเทศไทย, ๒๕๔๘)
เมื่อได้เวลา เจ้าหน้าที่เรือนจำาก็จะให้สัญญาณในการดำาเนินการประหารได้ เจ้าหน้าที่ที่
ทำาหน้าที่เพชฌฆาต ๒ คน ซึ่งอยู่ในห้องฉีดยาจะมี ๒ ปุ่ม กดคนละปุ่ม แต่จะมีปุ่มเดียวที่ปล่อยยา
เข้าร่าง ดังนั้น เจ้าหน้าที่ทั้ง ๒ จึงไม่มีโอกาสทราบได้ว่าใครเป็นผู้กดปุ่มปล่อยยาเข้าเส้น แต่สำาหรับ
ประเทศที่ไม่ใช้เครื่องฉีดยาอัตโนมัติ จะใช้คนฉีดยาด้วยมือ ซึ่งจะมีคนเดียว ฉีดเข้าแขนซ้ายหรือขวา
การฉีดไม่ได้ไปยืนฉีดที่แขน แต่ต่อสายยางออกมาและผู้ฉีดจะอยู่หลังม่าน
ยาที่ใช้ฉีดจะมี Sodium Penrotha 1 ในสารละลาย 20-25 cc Pancuronium bromide
50 cc และ Potassium chloride 50 cc
ยาดังกล่าวนี้เป็นผลมาจากการวิจัยของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเท็กซัส ว่าจะให้ผล
อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ยาที่ใช้ฉีดไม่ใช่ยาพิษ แต่เป็นยาทั่วไป ซึ่งถ้าให้เกินขนาดก็จะมีผลทำาให้ตายได้
โดยจะต้องมีประมาณที่มากพอสมควร ต้องค่อย ๆ ปล่อยเข้าไปในเส้นเลือด และใช้ถึง ๓ ชนิด
การฉีดยา เริ่มแรกจะปล่อยยา Sodium Penrotha 1 เข้าไปให้หลับก่อน จากนั้นจึงปล่อย Pancuronium
Bromide และ Potassium Chloride ตามลำาดับ เพื่อให้หัวใจหยุดสูบฉีดโลหิตภายในไม่ถึงนาที
เมื่อนักโทษแสดงอาการแน่นิ่งไป ผู้บัญชาการเรือนจำาจะขอให้นายแพทย์ของเรือนจำาเข้าตรวจยืนยัน
การตายของผู้ต้องขัง และประกาศเวลาตายต่อหน้าพยาน รวมใช้เวลาในการดำาเนินการตามขั้นตอนนี้
ทั้งสิ้นประมาณ ๒๐-๓๐ นาที ผู้แทนจากกองทะเบียนประวัติอาชญากรจะพิมพ์ลายนิ้วมืออีกครั้ง
และเคลื่อนย้ายศพของนักโทษไปห้องเก็บศพต่อไป โดยเก็บไว้ตรวจสอบอีก ๑ วัน ตลอดเวลาจะมี
การถ่ายรูปและวีดีโอตามขั้นตอนต่างๆ ไว้ (โทษประหารชีวิตในประเทศไทย, ๒๕๔๘)
สำาหรับในประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงวิธีการประหารมาเป็นการฉีดยานั้น ขั้นตอน
การประหารจะแตกต่างจากในสหรัฐ เพราะการประหารชีวิตของไทยจะกระทำาโดยทันทีที่ได้รับคำาสั่ง
โดยปกติจะเป็นเวลาเย็น นักโทษประหารจะไม่รู้ตัวล่วงหน้า เมื่อเจ้าหน้าที่เดินเข้าไปในแดนประหาร
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 43