Page 50 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 50

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีการปฏิรูประบบกฎหมายของไทย โดยมีการร่างประมวลกฎหมาย
                     ฉบับแรกของไทย คือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ ซึ่งในช่วงนั้นแนวความคิดในการลงโทษ

                     ประหารชีวิตได้เปลี่ยนแปลงไป  โดยได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ  ทั้งนี้  ในสมัยดังกล่าวเป็นยุค

                     ของการล่าอาณานิคม โดยชาวตะวันตกมักมีข้ออ้างในการเข้ามาปกครองดูแลประเทศในแถบเอเชีย
                     ซึ่งมักอ้างเหตุว่าการที่ชาวตะวันตกเข้ามาปกครองนั้นจะทำาให้ดินแดนในเอเชียมีความเจริญก้าวหน้า
                     ทัดเทียมประเทศของตน  นอกจากนี้  ยังอ้างว่ารัฐบาลของประเทศในเอเชียขาดสมรรถภาพ

                     ไม่สามารถรักษาความสงบสุขของราษฎร และผู้พำานักในประเทศ จึงสมควรที่ชาวยุโรปจะเข้ามากำาจัด

                     คนอันธพาล  เพื่อให้ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อยู่ในประเทศนั้นๆ  ด้วยเหตุนี้
                     บรรดาเจ้านายและข้าราชการจึงได้กราบบังคมทูลถวายความเห็นในการแก้ไขการปกครองแผ่นดิน
                     และเสนอบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า การที่จะรักษา

                     บ้านเมืองให้พ้นอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ด้วยการปกครองของศัตรู ต้องอาศัยความเปลี่ยนแปลงในทาง

                     ทำานุบำารุงรักษาบ้านเมืองตามที่ญี่ปุ่นได้เดินทางตามยุโรปมาแล้ว  และซึ่งประเทศทั้งปวงที่มี
                     ความศิวิไลซ์ นับว่าเป็นทางเดียวที่จะรักษาประเทศไว้ได้ กล่าวคือ ประเทศญี่ปุ่นได้ใช้วิธีการปรับปรุง
                     กฎหมายของตนให้มีความยุติธรรมและทันสมัยตามหลักสากล ชาวตะวันตกยอมรับนับถือและไม่อาจ

                     กล่าวอ้างว่าเป็นประเทศป่าเถื่อนได้อีก

                                 จากแนวความคิดดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้มีการปฏิรูประบบกฎหมายของประเทศไทย
                     โดยเริ่มต้นจากกฎหมายอาญาและมีการร่างกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ ขึ้น ผลที่เกิดขึ้น
                     จากการปฏิรูปดังกล่าวก็คือ  โครงสร้างของกฎหมายและการปกครองของประเทศไทยในส่วนรวม

                     ได้ถูกแก้ไขเกือบทั้งหมด ระบบกฎหมายใหม่ถูกสร้างขึ้นมา ระบบยุติธรรมแบบรวมอำานาจไว้ในส่วน

                     กลางและระบบกฎหมายแห่งชาติได้เข้ามาแทนที่โครงสร้างกฎหมายแบบจารีตประเพณี ซึ่งบังคับใช้
                     โดยอาศัยธรรมเนียมปฏิบัติและบุคลากรของท้องถิ่น
                                 เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติของกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง

                     ของการปฏิรูประบบกฎหมาย ในส่วนที่เกี่ยวกับโทษประหารชีวิตนั้น จะเห็นได้ว่ากฎหมายลักษณะอาญา

                     ร.ศ. ๑๒๗ ยังคงมีการบัญญัติให้มีการลงโทษประหารชีวิตอยู่ เพื่อข่มขู่ยับยั้งมิให้ผู้อื่นกล้ากระทำา
                     ความผิดซึ่งมีโทษหนักถึงขั้นประหารชีวิตอีก  แต่หากพิจารณาในแง่ของแนวความคิดในการลงโทษ
                     ประหารชีวิตแล้ว  แม้แนวความคิดบางประการจะยังไม่แตกต่างกับในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนัก

                     เช่น  การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงมีอำานาจสูงสุดในแผ่นดิน

                     แต่เพียงผู้เดียว  ดังนั้น  การกระทำาความผิดต่อพระมหากษัตริย์  เช่น  การลอบปลงพระชนม์
                     หรือการประทุษร้ายพระมหากษัตริย์  หรือการกระทำาความผิดอันกระทบต่อความมั่นคงในแผ่นดิน
                     ของพระองค์  เช่น  การกระทำาความผิดฐานขบถ  จึงยังคงมีโทษหนักถึงขั้นประหารชีวิต

                     อยู่เช่นเดิม  แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าการกระทำาความผิดต่อศาสนา  เช่น  การทำาลายพระพุทธรูป

                     การฆ่าพระสงฆ์หรือสามเณร กลับมิได้มีโทษถึงขั้นประหารชีวิตเช่นเดิม แต่มีโทษเพียงจำาคุกเท่านั้น
                     ดังนั้น  อาจกล่าวได้ว่าแนวความคิดในการลงโทษประหารชีวิตเพื่อสนองต่อผู้กระทำาความผิด






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 37
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55