Page 50 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 50

49


                                                                                                   รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
                                                                       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                                          -  ป้องกันไม่ให้มีการพรากชีวิตตามอำาเภอใจ “รัฐต้องดำาเนินการไม่เพียง
                                            แต่ป้องกัน หรือลงโทษการพรากชีวิตที่เป็นการกระทำาผิดอาญา แต่ต้อง
                                            ป้องกันการเข่นฆ่าตามอำาเภอใจที่กระทำาโดยเจ้าหน้าที่ความมั่นคงด้วย...

                                            ดังนั้น กฎหมายจักต้องควบคุมการใช้อำานาจ และจำากัดการใช้อำานาจกับ
                                            สถานการณ์ที่อาจทำาให้บุคคลอาจถูกพรากชีวิตโดยเจ้าหน้าที่ได้”   ๕๙
                                          -  รัฐต้องมีมาตรการป้องกันการทำาให้บุคคลหายตัวไปโดยการใช้กำาลัง ซึ่งมัก

                                            นำาไปสู่การพรากชีวิต และต้องมีกลไกและกระบวนการในการไต่สวน
                                            บุคคลที่หายตัว  ๖๐

                                          -  รัฐต้องมีมาตรการเชิงบวก และต้องใช้มาตรการทุกอย่างที่เหมาะสม เพื่อ
                                            ลดการตายของทารกแรกเกิด และเพิ่มอายุขัยของประชาชน โดยเฉพาะ
                                            อย่างยิ่งมาตรการขจัดภาวะทุพโภชนา และโรคระบาด  ๖๑

                                          -  ต้องมีการทบทวนกฎหมายอาญาเกี่ยวกับโทษประหารชีวิต โดยใช้เฉพาะ
                                            กับ “อาชญากรรมที่ร้ายแรงที่สุด” จริงๆ เท่านั้น โทษประหารต้องใช้อย่าง

                                            เฉพาะเจาะจง และผู้กระทำาผิดมีสิทธิได้รับการลดโทษ และการอุทธรณ์
                                            ต่อคณะกรรมการตุลาการระดับสูงขึ้นไป  ๖๒


                                       •  ข้อคิดเห็นร่วมอันสำ�คัญ ลำ�ดับที่ ๗ ข้อ ๗ ก�รห้�มทรม�น ก�รลงโทษ
                                          หรือก�รปฏิบัติที่ท�รุณโหดร้�ย และลดศักดิ์ศรีคว�มเป็นมนุษย์  ๖๓
                                          -  การเป็นอิสระจากการทรมานฯ เป็นสิทธิสัมบูรณ์ ไม่สามารถยกเว้นได้

                                            แม้ในภาวะฉุกเฉิน  ๖๔
                                          -  ต้องมีมาตรการป้องกันที่เป็นผล มีการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ที่มีอำานาจ

                                            อย่างเพียงพอ  ผู้กระทำาการทรมานจะต้องถูกลงโทษ ผู้ที่ถูกทรมานจะ
                                            ต้องได้รับการเยียวยาที่เป็นผลจริงจัง  ๖๕

                                          -  ห้ามการคุมขังที่เป็นการตัดขาดการสื่อสาร เปิดโอกาสให้แพทย์
                                            ทนายความ สมาชิกครอบครัว เยี่ยมผู้ต้องขังได้ ต้องกำาหนดให้คุมขัง
                                            ผู้ต้องขังในสถานที่ที่เป็นที่รู้จักของสาธารณะ และมีทะเบียนควบคุม
                                            ตรวจสอบได้  ๖๖






                     ๕๙   ibid. para. 3
                     ๖๐   para. 4
                     ๖๑   ibid. para. 5
                     ๖๒   ibid. para. 6-7
                     ๖๓   Committee on Civil and Political Rights, General Comment No 07: Torture or cruel, inhuman or degrading treatment or
                        punishment (Art. 7): 30/05/1982.
                     ๖๔   ibid. para. 1
                     ๖๕   ibid. para. 1
                     ๖๖   ibid. para. 1
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55