Page 46 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 46
45
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
และการปฏิบัติของรัฐภาคี ทั้งนี้ ถือเป็นการทบทวน ติดตาม และตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ตลอดจนการตีความข้อบทต่างๆ ที่ได้บัญญัติไว้ในกติการะหว่างประเทศ ดังที่คณะกรรมการประจำา
กติการะหว่างประเทศได้แสดงความเห็นไว้ว่า
“ความประสงค์ของข้อคิดเห็นร่วมอันส�าคัญนี้ ก็เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์อันเป็นประโยชน์โดยตรง
ต่อรัฐภาคี ในการสนับสนุนการปฏิบัติตามกติกา เพื่อชี้ให้รัฐภาคีได้เห็นถึงประเด็นที่ขาดหายไป
ในรายงานส่วนใหญ่ เพื่อเสนอข้อปรับปรุงกระบวนการรายงาน ตลอดจนกระตุ้นกิจกรรมของรัฐภาคี
และองค์การระหว่างประเทศในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ความเห็นทั่วไปเหล่านี้ควรได้รับ
ความสนใจจากประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศที่ก�าลังเตรียมตัวเข้าเป็นภาคีกติกา เพื่อที่จะเสริม
ความเข้มแข็งของความร่วมมือของรัฐทั้งปวงในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนระดับสากล”
เช่น ข้อคิดเห็นร่วมอันสำาคัญ ลำาดับที่ ๑๔ (General Comment No. ๑๔) เกี่ยวกับสิทธิ
ที่จะได้รับมาตรฐานด้านสุขภาพสูงสุดเท่าที่จะมีได้ คณะกรรมการประจำากติการะหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้ชี้ให้เห็นว่า รัฐมีพันธะหน้าที่ที่เป็นรูปธรรมต่อ
“สิทธิในสุขภาพ” เช่น ต้องมีมาตรการ ดังต่อไปนี้
• การรับรองสิทธิในสุขภาพไว้ในระบบกฎหมายและนโยบายสังคม
• มีโครงการบริการวัคซีนป้องกันโรคที่สำาคัญ
• มีการฝึกอบรมแพทย์ และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์อย่างเพียงพอและเหมาะสม
• มีระบบประกันสุขภาพสำาหรับประชาชน
• มีกฎหมายและมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการทำางาน ความปลอดภัย
จากอุบัติเหตุและมลพิษ
แม้ว่าข้อคิดเห็นร่วมอันสำาคัญไม่มีพันธกรณีทางกฎหมายโดยตัวเอง แต่การที่จัดทำาขึ้นโดย
องค์กรที่มีอำานาจหน้าที่ในการตีความและการพิจารณาข้อบทตามสนธิสัญญา เป็นการช่วยอธิบาย
เนื้อหาและการปกป้องสิทธิตลอดจนพันธกรณีของรัฐในการเคารพสิทธิมนุษยชน จัดว่าเป็นกฎหมาย
ที่ควรมี หรือ Soft Law / lex ferenda หรือเป็นแหล่งที่มาประการหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศ
ตามธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ข้อ ๓๘ ๕๕ ย่อมเป็นเหตุผลที่มีน้ำาหนักและใช้เป็น
แรงกดดันทางด้านศีลธรรมและทางการเมือง
๕๖
อนึ่ง โครงการจัดตั้งสำานักงานสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แปล General Comments
ของคณะกรรมการประจำาสนธิสัญญาต่างๆ ไว้ นับตั้งแต่คณะกรรมประจำาสนธิสัญญานั้นๆ เริ่มดำาเนินการ
จนถึง พ.ศ. ๒๕๔๓ (ค.ศ. ๒๐๐๐) ดังนั้น คณะผู้ศึกษาจึงใช้เนื้อหาถ้อยคำาดังที่ผู้แปลได้แปลไว้ โดยการดึงมาใช้
เฉพาะเนื้อหา ส่วนข้อคิดเห็นร่วมอันสำาคัญ ที่คณะกรรมการฯ มีขึ้นหลังจาก พ.ศ. ๒๕๔๓ (ค.ศ. ๒๐๐๐)
เป็นถ้อยคำาที่คณะผู้ศึกษาได้แปลสรุปความเอง เพื่อประโยชน์ในการศึกษาครั้งนี้
๕๕ op. cit. supra note 21
๕๖ General Comments on Civil and Political Rights adopted by the Human Rights Committee แปลโดย มุกดาวรรณ ศักดิ์บุญ
และวีระ สมบูรณ์ เป็นบรรณาธิการแปล; General Comments on Economic Social and Cultural Rights adopted by
the Economic Social and Cultural Rights Human Rights Committee แปลโดย ศรีประภา เพชรมีศรี และ ปราณี เก้าเสี้ยน
และ วีระ สมบูรณ์ เป็นบรรณาธิการแปล