Page 42 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 42
41
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
๓.๑.๓ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International
Covenant on Economic, Social and Cultural Rights : ICESCR) เป็นสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน
ระหว่างประเทศที่กำาหนดให้รัฐรับรองสิทธิต่างๆ ของบุคคลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน
“คู่แฝด” ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) กติกาฯ
ได้รับรองโดยสมัชชาใหญ่สหประชาชาติใน ค.ศ. ๑๙๖๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙) และมีผลบังคับใช้เมื่อ ค.ศ. ๑๙๗๖
(พ.ศ. ๒๕๑๙) เนื้อหาของกติกาแบ่งเป็นห้าส่วน ดังนี้
ส่วนที่หนึ่ง รับรองสิทธิในการกำาหนดเจตจำานงตนเอง
ส่วนที่สอง กล่าวถึงพันธกรณีของรัฐโดยกำาหนดให้รัฐต้องดำาเนินการต่างๆ เพื่อให้เกิด
ความก้าวหน้าในการเคารพคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิด้านนี้ให้เป็นจริง
ส่วนที่ส�ม กล่าวถึงสาระของสิทธิในด้านต่างๆ เช่น สิทธิเกี่ยวกับการทำางาน สภาพการ
จ้างงาน สิทธิที่จะได้รับสวัสดิการ การคุ้มครอง และช่วยเหลือครอบครัว สิทธิทางสังคม การศึกษา
การมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม
ส่วนที่สี่ กำาหนดพันธกรณีของรัฐในการจัดทำารายงานการปฏิบัติตามกติการะหว่าง
ประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ต่อคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (เป็นที่
น่าสังเกตว่า กลไกการสองส่องดูแลของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ
วัฒนธรรม นั้นต่างจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่ได้กำาหนด
ให้ตั้งคณะกรรมการประจำาสนธิสัญญาขึ้นมาโดยเฉพาะ)
ส่วนที่ห้� กล่าวถึงกระบวนการการเข้าเป็นภาคี การแก้ไขเพิ่มเติมของกติกาฯ
ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีกติกาฯ โดยการภาคยานุวัติใน พ.ศ. ๒๕๔๒ (ค.ศ. ๑๙๙๙)
และได้ตั้งข้อสงวนโดยการทำาถ้อยแถลงการณ์ตีความ (Interpretative Declaration) เกี่ยวกับสิทธิ
ในการกำาหนดเจตจำานงตนเองว่าในข้อบทที่ ๑ ว่า จะตีความสอดคล้องกับปฏิญญากรุงเวียนนา
และแผนปฏิบัติการที่ได้รับรองในการประชุมระดับโลกว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๙๓
(พ.ศ. ๒๕๓๖) ๕๓
๕๓ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๓-๒๕.