Page 122 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 122
121
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
บทที่ ๕
ชุดตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน
ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
สำาหรับการดำาเนินงาน
บทนี้จะเป็นการเสนอชุดตัวชี้วัดที่คณะผู้ศึกษาได้พัฒนาขึ้นหลังจากได้มีการสรุปพันธกรณี
ของรัฐ และได้กำาหนดสาระแห่งสิทธิ หรือมิติของสิทธิด้านต่างๆ รวมถึงหน้าที่ของรัฐด้านต่างๆ
ในการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยใช้รูปแบบ
และกระบวนการที่ได้รับการยอมรับขององค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และได้ใช้วิธีการ
การมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ตัวชี้วัดที่สะท้อนปัญหาสิทธิมนุษยชนสำาคัญของ
ประเทศไทย และให้ได้ตัวชี้วัดที่ยอมรับได้และใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ
คณะผู้ศึกษาได้จำาแนกประเภทตัวชี้วัดเป็นห้ากลุ่มใหญ่ๆ คือ
๑. ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการกำาหนดตนเองและการมีส่วนร่วมการจัดการสาธารณะ
๒. ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิทธิในชีวิตและความปลอดภัยในร่างกาย
๓. ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิทธิในด้านกระบวนการยุติธรรม
๔. ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิทธิเกี่ยวกับมโนธรรม ความคิดเห็น การสมาคม และ
การชุมนุม
๕. ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิทธิด้านสวัสดิการสังคม
ในตารางชุดตัวชี้วัดนั้น จะประกอบด้วยตัวชี้วัดสิทธิด้านต่างๆ ตัวชี้วัดแต่ละตัวจะประกอบด้วย
ตัวชี้วัดสามประเภท คือ ตัวชี้วัดโครงสร้าง ตัวชี้วัดกระบวนการ และตัวชี้วัดผลลัพธ์ ซึ่งสิทธิด้านหนึ่ง
อาจมีตัวชี้วัดหลายตัว ซึ่งแบ่งเป็นตัวชี้วัดหลักและตัวชี้วัดรอง ในขณะที่สิทธิบางด้านอาจไม่มีตัวชี้วัด
บางประเภท